ผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรม, ประสิทธิผลของ Quadruple test, จังหวัดชัยภูมิบทคัดย่อ
ความเป็นมา: กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมเป็นโรคพันธุกรรมที่ทำให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการล่าช้า และนโยบายของประเทศไทยในปัจจุบันให้สตรีตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรมที่อายุครรภ์ 14 – 18 สัปดาห์ โดยวิธี Quadruple test
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และประสิทธิผลการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมด้วยวิธี Quadruple test ในจังหวัดชัยภูมิ
วิธีดำเนินการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจ Quadruple test ในจังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565
ผลการวิจัย: หญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดชัยภูมิที่มาตรวจ Quadruple test ในปี พ.ศ 2565 ทั้งหมด
3,702 คน อายุเฉลี่ย 27.3 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.4 ปี มีความเสี่ยงสูงต่อโรคดาวน์ซินโดรม 444 คน
ได้เจาะน้ำคร่ำ 384 คน ปฏิเสธการเจาะน้ำคร่ำ 71 คน โดยผลเจาะน้ำคร่ำตรวจพบโครโมโซมปกติ 375 คน
(ร้อยละ 97.6) พบดาวน์ซินโดรม 3 คน (ร้อยละ 0.8) เอ็ดเวิร์ดซินโดรม 1 คน (ร้อยละ 0.3) และความผิดปกติของโครโมโซมอื่น ๆ 5 คน (ร้อยละ 1.3) พบทารกโรคดาวน์ซินโดรมที่ไม่ได้เจาะน้ำคร่ำหลังคลอด 2 คน ประสิทธิผลของ Quadruple test ในหญิงตั้งครรภ์ทุกกลุ่มอายุมี detection rate ร้อยละ 60 (95% CI, 14.7-94.7) specificity ร้อยละ 88.1 (95% CI, 87.0-89.1) false-positive rate ร้อยละ 11.9 (95% CI, 10.9-13.0) PPV ร้อยละ 0.7 (95% CI, 0.3-1.4) NPV ร้อยละ 99.9 (95% CI, 99.8-100.0) และ accuracy ร้อยละ 88.0 (95% CI, 86.9-89.1)
สรุปอภิปรายผล: หญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจ Quadruple test ทั้งหมด 3,702 คน มีความเสี่ยงสูง 444 คน detection rate ร้อยละ 60 false-positive rate ร้อยละ 11.9 และ accuracy ร้อยละ 88.0 ช่วยทำให้สามารถปรับปรุงพัฒนาขั้นตอนการตรวจ และเจาะเลือดเพื่อเพิ่มประสิทธิผลต่อไปในอนาคต
เอกสารอ้างอิง
เปรมวดี เด่นศิริอักษร, [บรรณาธิการ]. คู่มือ “ก้าวไปพร้อมกัน...กับดาวน์ซินโดรม”. กรุงเทพฯ : กลุ่มบริการ สถาบันราชานุกูล. 2559.
Weijerman ME, de Winter JP. Clinical practice. The care of children with Down syndrome. Eur J Pediatr 2010;169(12):1445–52.
Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Hauth JC, Rouse DJ, Spong CY, [editors]. Prenatal diagnosis and fetal therapy. In: Williams Obstetrics. 23 ed. New York: McGraw-Hill. 2010; p. 287-311.
American College of Obstetricians and Gynecologists. ACOG Practice Bulletin No. 226: Clinical Management Guidelines for Obstetrician-Gynecologists. Screening for Fetal Chromosomal Abnormalities. Obstet Gynecol. 2020.
จันทนา พัฒนเภสัช, อุษณา ตัณมุขยกุล, ยศ ตีระวัฒนานนท์. ต้นทุนผลได้ของการตรวจกรองและวินิจฉัย ก่อนคลอดของกลุ่มอาการดาวน์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2555;21(4):668-84.
กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการให้บริการตรวจคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ ในหญิงตั้งครรภ์ด้วยวิธี Quadruple test สำหรับผู้ปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2564.
พิศพรรณ วีระยิ่งยง, จอมขวัญ โยธาสมุทร, ศรวณีย์ ทนุชิต, ศุภวรรธน์ เพิ่มผลสุข, สุธีนุช ตั้งสถิตย์กุลชัย, ณัฐธิดา มาลาทอง, และคนอื่น ๆ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การประเมินโครงการนำร่องการป้องกัน และควบคุมกลุ่มอาการดาวน์. นนทบุรี : โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. 2559.
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติ : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ประเทศไทย. 2558.
Kaewsuksai P, Jitsurong S. Prospective study of the feasibility and effectiveness of a second-trimester quadruple test for Down Syndrome in Thailand. International Journal of Gynecology & Obstetrics 2017;139(2):217–21.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.