การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกและความปลอดภัยในการใช้ยาวาร์ฟาริน จากการใช้ระบบ คัดกรองใบสั่งยาวาร์ฟาริน และฉลากรูปภาพเสริมสำหรับผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
วาร์ฟาริน, การคัดกรองใบสั่งยา, ฉลากยารูปภาพบทคัดย่อ
ความสำคัญ: วาร์ฟาริน เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ต้องระมัดระวังในการใช้ การมารับยาผ่านแผนกจ่ายยาผู้ป่วยนอก โดยไม่ผ่านคลินิกวาร์ฟาริน อาจเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาที่ส่งผลต่อการควบคุมค่า INR การพัฒนาระบบคัดกรองใบสั่งยาและฉลากรูปภาพเสริม จึงได้ดำเนินการขึ้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าว
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกระหว่างผู้ป่วยที่ผ่านระบบคัดกรองฯ และระบบผู้ป่วยนอกทั่วไป รวมถึงผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยในการใช้ยาวาร์ฟาริน และผลลัพธ์การจัดการปัญหาจากการใช้ยา
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) ช่วงระยะเวลาระหว่าง เดือนตุลาคม 2564 ถึง มีนาคม 2566 ณ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ ดำเนินการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) จากห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก
ผลการศึกษา: พบว่าหลังใช้ระบบคัดกรองฯ (1) ผลลัพธ์ทางคลินิกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนี้ ค่าเฉลี่ยร้อยละของ VIR เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 50.8 เป็น ร้อยละ 69.2, ค่าเฉลี่ยร้อยละของ TTR เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 49.7 เป็น ร้อยละ 70.3 และสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มที่ควบคุมระดับ INR ให้อยู่ในช่วงเป้าหมายการรักษาได้ดีเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 33.3 เป็น ร้อยละ 56.7 (2) ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย พบว่าหลังใช้ระบบฯ ผู้ป่วย ร้อยละ 99.2 สามารถควบคุมระดับ INR ได้ในระดับไม่เกิน 5 ลดความเสี่ยงการเกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้ยาวาร์ฟาริน (3) เภสัชกรสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ ร้อยละ 93.7
สรุปและข้อเสนอแนะ: ในหน่วยงานที่มีข้อจำกัดของจำนวนเภสัชกร ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเวลาในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก การใช้ระบบระบบคัดกรองใบสั่งยาวาร์ฟาริน และฉลากรูปภาพเสริมสำหรับผู้ป่วย สามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนางานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกที่ใช้ยาวาร์ฟารินของโรงพยาบาล ตามนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขได้
เอกสารอ้างอิง
Pirmohamed M. Warfarin: almost 60 years old and still causing problems. Br J Clin Pharmacol 2006;62(5):509–11.
สุภารัตน์ วัฒนสมบัติ. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2553;5(1):87- 97.
สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน. กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 2553.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานความเสี่ยงด้านคลินิกประจำปี 2565. ชัยภูมิ : คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2565.
Warfarin Adverse Event Reduction and Collaboration. Warfarin Registry Network (WaRN). รายงานข้อมูล INR archievement โรงพยาบาลชัยภูมิ ปี พ.ศ.2563-2565. [ออนไลน์]. [cited 5 กรกฎาคม 2565] Available from: http://www.thaiacc.org/warfarin/
กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดการด้านยาใน Service Plan สาขาโรคหัวใจและสาขาโรคไต. นนทบุรี : กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. 2563; หน้า 9-10.
Hatoum HT, Hutchinson RA, Witte KW, Newby GP. Evaluation of the contribution of clinical pharmacist: inpatient care and reduction. Drug Intell Clin Pharm 1988;22(3):252-9.
Dowse R, Ehlers MS. The evaluation of pharmaceutical pictograms in a low- literate South African population. Patient Educ Couns 2001;45(2):87-99.
กุลธิดา ไชยจินดา. การพัฒนาและประเมินระบบฉลากยาที่เป็นรูปภาพ สำหรับผู้ป่วยไทยในภาคเหนือที่มีทักษะการรู้หนังสือน้อย. [ปริญญานิพนธ์ วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (เภสัชศาสตร์)]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550.
Dowse R, Ehlers M. Medicine labels incorporating pictograms: do they influence understanding and adherence?. Patient Educ Couns 2005;58(1):63-70.
เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร. การประเมินการบริบาลทางเภสัชกรรมบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2549;21(4):282-8.
เยาวลักษณ์ สิทธิเดช. การจัดการปัญหาเกี่ยวกับยาที่พบในหออายุรกรรมชาย โดยเภสัชกรประจำหอผู้ป่วย. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2550;17(2):109-19.
ศศิธร กิจไพบูลย์ทวี. การบริบาลทางเภสัชกรรม บนหอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31(3):369-83.
Lampert ML, Kraehenbuehl S, Hug BL. Drug-related problems: evaluation of a classification system in the daily practice of a Swiss University Hospital. Pharm World Sci 2008;30(6):768-76.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.