การพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวาน, ทีมสหวิชาชีพ, การเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการ, ผู้ดูแลผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี ระยะเวลาในการวิจัย มีนาคม ถึง ตุลาคม 2566
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 อายุเฉลี่ย 68.83 ปี (S.D.=0.71) ผู้ดูแลเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.7 อายุเฉลี่ย 41.90 ปี (S.D.=1.41) ทีมสหวิชาชีพ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 อายุเฉลี่ย 35.50 ปี (S.D.=9.11) รูปแบบการเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การจัดการตนเอง ร่วมกับผู้ดูแลและทีมสหวิชาชีพ ร่วมกับการประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง การให้ความรู้ และการดูแลสุขภาพกาย ตา ไต เท้า 2) การตั้งเป้าหมายในการควบคุมระดับน้ำตาล 3) การวางแผนและการปฏิบัติ ด้านการบริโภคอาหาร การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การรับประทานยา และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เท้า 4) การประเมินผล โดยการดูผลการตรวจระดับ HbA1C และภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับมารับยาที่โรงพยาบาลในแต่ละครั้งร่วมกับการให้ผู้ป่วย และผู้ดูแลประเมินตนเองถึงพฤติกรรมการดูแลตนเอง ประเมินปัญหาและอุปสรรค และตรวจสอบสมุดบันทึก และให้คำแนะนำในการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ถูกต้องเหมาะสม ภายหลังนำรูปแบบไปใช้ พบว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) มีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตภาพรวม อยู่ในระดับดี ( ± S.D.: 108.92 ± 5.89) ด้านความพึงพอใจภาพรวมของผู้ป่วยและผู้ดูแล อยู่ในระดับสูง ( ± S.D. : 4.21 ± 0.32) และทีมสหสาขาวิชาชีพ อยู่ในระดับสูง ( ± S.D.: 4.03 ± 0.36)
การเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน และผู้ดูแลเข้าใจ ถึงความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และจะช่วยให้ป้องกันปัญหานี้ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง
จินตนา อาจสันเที๊ยะ, รัชณีย์ ป้อมทอง. แนวโน้มการดูแลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(1):39-46.
กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วิรดา อรรถเมธากุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, อรัญญา นามวงศ์. สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 2563;17(2):581-95.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. กรุงเทพฯ: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์. 2551.
โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง. รายงานผลการดำเนินงานโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง ปี 2560 - 2565. อุดรธานี : โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง. 2565.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University. 1988.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่. 2540.
Best John W. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc. 1977.
จุฬาลักษณ์ สินธุเขต. ผลของการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยต่อระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ตำบลดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปี 2566. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2023;8(2):337-45.
อุบล ศรุตธนาเจริญ. การพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้ป่วยในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานโดยใช้ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วารสารเกื้อการุณย์. 2557;21(1):57-69.
ณิชารีย์ ใจคำวัง, วรดา จักษุพรรณ, วลีพร น้อยเจือ, สกาวเดือน ชุ่มชุมภู, อินธิรา ตระกูลฤกษ์. ศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัด อุตรดิตถ์. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์. 2562;1:1–19.
อมรรัตน์ ปะติเก, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์, ศิรินาถ ตงศิริ. ผลของการดูแลที่บ้านโดยทีมสหสาขาวิชาชีพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ติดบ้านและติดเตียง. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2019;11(4):860–68.
นริสา วงศ์พนารักษ์, สายสมร เฉลยกิตติ. คุณภาพชีวิต: การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557;15(3):64-70.
เจริญศรี พงษ์สิมา. รูปแบบการดูแลต่อเนื่องในชุมชน สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ในตำบลแห่งหนึ่ง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน. 2564;4(2):1-20.
กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์, ฐิติมา โกศัลวิตร, นฤมล บุญญนิวารวัฒน์. รูปแบบการดูแลระยะยาวแบบบูรณาการโดยการมีส่วนร่วม. มนุษยสังคมสาร (มสส.). 2562;17(1):1–20.
อลงกต ตังคะวานิช. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ตำบลเหล่าแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(2):28–35.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2023 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.