การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและมีภาวะการหายใจลำบาก: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลเด็ก, ปอดอักเสบ, ภาวะการหายใจลำบาก, 11 แบบแผนของกอร์ดอนบทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี การให้การพยาบาลที่เหมาะสมจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและมีภาวะการหายใจลำบาก 1 ราย ที่มารักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชัยภูมิ ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2566
รูปแบบการศึกษา: เป็นกรณีศึกษาเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนและญาติซึ่งยินยอมให้ใช้ข้อมูลในการศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการในการดูแล ประเมินปัญหาตาม 11 แบบแผนของกอร์ดอนพบว่าแบบแผนที่ผิดปกติคือแบบแผนที่ 1, 2, 4, 5, 6, 7, 10
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กไทย อายุ 10 เดือน มีอาการไข้ 3 วันก่อนมา ร่วมด้วยอาการไอมีเสมหะ หายใจเหนื่อย หอบอกบุ๋ม แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบและมีภาวะการหายใจลำบาก ฟังปอดมีเสียง wheezing BL, Rhonchi BL, RS crepitation,Subcostal retraction, Looks dyspnea ผลเอกซเรย์ปอดมี Patchy infiltrate RLL แพทย์ให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล วางแผนให้การพยาบาลตามสภาพปัญหา ดังนี้ 1) มีโอกาสเกิดภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากมีการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด 2) เสี่ยงต่อภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้นเนื่องจากไอไม่มีประสิทธิภาพ มีเสมหะ 3) มีโอกาสเกิดภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากการทำงานของปอดประสิทธิภาพลดลงจากโรคปอดอักเสบ 4) ไม่สุขสบายเนื่องจากอาการไอมีเสมหะ 5) มีความทนในการปฏิบัติกิจกรรมลดลงเนื่องจากหายใจเหนื่อยหอบและอ่อนเพลีย 6) ผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและสารอาหารในร่างกายเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย 7) บิดา มารดา มีความวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ป่วยและป้องกันการเกิดซ้ำ
ข้อสรุป: นอกจากการประเมินภาวะสุขภาพ การให้การบริบาลที่รวดเร็ว ครอบคลุม และเหมาะสมแล้ว การวางแผนการจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ยังเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงในกรณีโรคปอดอักเสบและมีภาวะการหายใจลำบากในเด็ก
เอกสารอ้างอิง
ชมพูนุช บุญโสภา. Neonatal Resuscitation. เอกสารประกอบการสอนวิชา สุขภาพและโรคของเด็กแรกเกิดจนถึงวัยรุ่น3. พิษณุโลก : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตรมหาวิทยาลัยนเรศวร. 2556.
วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, รุ่งตะวัน ม่วงไหมทอง, รุ่งทิพย์ เขาโคกกรวด, ลูกเกด เสนพิมาย, สาวิตรี พาชื่นใจ. บทบาทพยาบาล: ความท้าทายในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในเด็กเล็ก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมชาชนนีนครราชสีมา 2559;22(1):121-130.
อนุพล พาณิชย์โชติ. Acute respiratory distress syndrome (ARDS). ใน: ดุสิต สถาวร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร, [บรรณาธิการ]. Critical Care Medicine: The Acute Care. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. 2558; หน้า 232-241.
ฤดีมน สกุลคู. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะปอดอักเสบกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยเด็ก. พุทธชินราชเวชสาร 2557;31(1);46-53.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติประจำปี 2564. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2564.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติประจำปี 2565. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2565.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติประจำปี 2566. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2566.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติประจำปี 2564. ชัยภูมิ : ห้องตรวจกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2564.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติประจำปี 2565. ชัยภูมิ : ห้องตรวจกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2565.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานสถิติประจำปี 2566. ชัยภูมิ : ห้องตรวจกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2566.
ปราณี ทู้ไพเราะ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนและขนส่งออกซิเจน. ใน วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, [บรรณาธิการ]. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผันแปรของออกซิเจน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมมาราช. 2556; หน้า 80-87.
นิภาพร หลีกุล, สุวิณี วิวัฒน์วินิช. ผลของการใช้การวางแผนจำหน่ายต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและความพึงพอใจของผู้ดูแล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2557;30(3):87-96.
ผนึกแก้ว คลังคา, วิลาวัณย์ จันโทริ, อำภา ทาเวียง. การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดยการมี ส่วนร่วมของครอบครัวหรือผู้ดูแล. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2562;32(2):40-9.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.