ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุพรรณิการ์ ยานกาย กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะความดันเลือดในปอดสูง, ทารกแรกเกิด, ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

บทนำ : ภาวะความดันเลือดในปอดสูงเป็นกลุ่มอาการของโรคในทารกแรกเกิดที่เป็นภาวะรุนแรง ทำให้มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา และมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเกิด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูงในโรงพยาบาลชัยภูมิ

วิธีการศึกษา : รูปแบบการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ในผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่ได้รับวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันเลือดในปอดสูง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2566 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนย้อนหลัง วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์อนุมานด้วยสถิติ independent t-test, Z-test for proportion และ conditional logistic regression

ผลการวิจัย : ในรอบการศึกษา 4 ปี พบทารกที่มีภาวะความดันเลือดในปอดสูง 48 ราย จากการเกิดมีชีพทั้งหมด 21,179 ราย คิดเป็นอัตรา 1.76 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน โดยสัดส่วนเพศชายต่อหญิง เท่ากับ 1.66: 1.00 ในจำนวนดังกล่าวทารกมีอายุครรภ์คลอดเฉลี่ย 37.38 + 2.57 สัปดาห์ น้ำหนักทารกแรกเกิดเฉลี่ย 2,974.27 + 726.16 กรัม อัตราตายจากภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดโดยรวมเท่ากับ ร้อยละ 37.5 (95% CI: 24.0, 51.2) โดย ปี พ.ศ.2564 มีอัตราตายสูงสุด ความแตกต่างระหว่างทารกที่รอดชีวิตและกลุ่มที่เสียชีวิต คือ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล (mean diff.=27.43; 95% CI: 17.27, 37.60) และระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจ (mean diff. = 8.03; 95% CI: 0.56, 15.51) โดยผลจากการใช้ยา Norepinephrine มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (prop. diff. = 32.5; 95% CI: 6.7, 58.2) และผลจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตพบว่า ทารกเพศชายมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่า (ORAdjusted = 8.97; 95% CI: 1.61, 50.04) รวมถึงทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัมมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าทารกที่มีน้ำหนักเกินกว่า 2,500 กรัม (ORAdjusted = 15.16; 95% CI: 1.66, 138.08) 

สรุปผลการวิจัย : อัตราการเกิดภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดยังไม่สูงมากนัก แต่อัตราตายเกิดขึ้นราว 1 ใน 3 ซึ่งสาเหตุหลักคือ โรคปอดอักเสบตั้งแต่แรกเกิด ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตคือ ทารกเพศชาย และทารกกลุ่มที่น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม

เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา ผิวหอม. อัตราการเสียชีวิตและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดที่มีภาวะความดันในปอดสูงในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารทางการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2564;36:181-9.

ชรินพร พนาอรุณวงศ์. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2560;4(2):5-18.

นพวรรณ พงศโสภา. ภาวะความดันเลือดใน ปอดสูงในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560;31(1):49-59.

พิชญา ถนอมสิงห์. ผลการรักษาภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ขึ้นไปในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา 2554;35(1):31-44.

ปฐมาภรณ์ ชัยธีรกิจ. ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลกระทุ่มแบนจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 4-5 2563;39(3):304-15.

มนัญญา อภิวัฒนพร. ภาวะความดันเลือดในปอดสูงในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลอุดรธานี 2564;29(1):30-7.

วรนาฎ จันทร์ขจร. ผลการรักษาภาวะความดัน เลือดปอดสูงในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2563;59(2):131-8.

สุชาดา ชีวะพฤกษ์. ภาวะความดันเลือดปอดสูง ในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(ฉบับเพิ่มเติม 2):379-389.

อุกฤษฎ์ จิระปิติ, วรางคณา มหาพรหม. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยทารกแรกเกิดที่มีความดันโลหิตในปอดสูงในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2557;6(1):57-65.

Agha H, Tantawy AE, Iskander I, Samad AA. Impact of Management Strategies on the Outcome of Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn. Cardiol Cardiovascmed 2017;1(2):74-84.

Chotigeat U, Jaratwashirakul S. Inhaled iloprost for severe persistent pulmonary hypertension of the newborn. J Med Assoc Thai 2007;90(1):167-70.

Janjindamai W, Thatrimontrichai A, Maneenil G, Chanvitan P, Dissaneevate S. Effectiveness and Safety of Intravenous Iloprost for Severe Persistent Pulmonary Hypertension of the Newborn. Indian Pediatr 2013;50(10):934-8.

Kahveci H, Yilmaz O, Avsar UZ, Ciftel M, Kilic O, Laloglu F, et al. Oral Sildenafil and inhaled Iloprost in the treatment of pulmonary hypertension of the newborn. Pediatr Pulmonol 2014;49(12):1205-13.

Razzaq A, Iqbal Quddusi A, Nizami N. Risk factors and mortality among newborns with persistent pulmonary hypertension. Pak J Med Sci 2013;29(5):1099-104.

Roofthooft M, Elema A, Bergman KA, Berger RM. Patient characteristics in persistent pulmonary hypertension of the newborn. Pulm Med 2011;2011:858134.

Hernandez-Diaz S, Van Marter LJ, Werler MM, Louik C, Mitchell AA. Risk factors for persistent pulmonary hypertension of the newborn. Pediatrics 2007;120(2):e272-82.

Kinsela JP, Truog WE, Walsh WF, Goldberg RN, Bancalari E, Mayock DE, et al. Randomized, multicenter trial of inhaled nitric oxide and high-frequency oscillatory ventilation in severe, persistent pulmonary hypertension of the newborn. J Pediatr 1997;131(1):55-62.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28