การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ร่วมกับภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงวิกฤตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • แสงอรุณ ปวงชัยภูมิ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน, ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงวิกฤต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะราย (case study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันร่วมกับภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงวิกฤตในผู้ป่วยโรคเบาหวาน (Congestive Heart Failure With Post cardiac arrest with Hyperglycemic Crisis)  

วิธีการศึกษา: เลือกผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 4 ถึง 8 ส.ค. 2566 ผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาล 5 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การตรวจร่างกาย การสังเกต และจากแบบบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลตามพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา การประเมินผู้ป่วยระยะวิกฤตตามหลัก FANCAS กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาลและประเมินผลการพยาบาล ครอบคลุม 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะกึ่งวิกฤต และระยะฟื้นฟู

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกรณีศึกษา ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 43 ปี โรคประจำตัวเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไตวาย ระยะ 3 มาด้วยอาการ 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย บวม ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลชุมชน ผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูงและมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ช่วยฟื้นคืนชีพ 13 นาที จนมีสัญญาณชีพคืนมา แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจและส่งต่อมารักษาที่โรงพยาบาลชัยภูมิ แรกรับหอผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลชัยภูมิ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี E4VTM6 ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Congestive Heart Failure with post cardiac arrest with Hyperglycemic Crisis และให้นอนพักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 2 ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาดี มีสัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถเอาท่อช่วยหายใจออกได้ภายใน 2 วัน ระหว่างการรักษาประเมินผู้ป่วยระยะวิกฤตตามหลัก FANCAS และพบปัญหาการพยาบาลครอบคลุม 3 ระยะ ได้แก่ ระยะวิกฤต ระยะกึ่งวิกฤต และระยะฟื้นฟูจำนวน 10 ปัญหา ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน และได้รับการวางแผนการจำหน่ายตามแนวหลัก D-METHOD

สรุป: ผู้ป่วยรายนี้ได้รับการรักษาและให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ จนกระทั่งปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไข และสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ รวมระยะเวลาในการดูแลรักษาทั้งหมด 5 วัน และนัดมาพบแพทย์ที่คลินิกโรคหัวใจในอีก 3 เดือน

เอกสารอ้างอิง

ศรินยา สัทธานนท์. การดูแลผู้ป่วยโรค เบาหวานในเวชปฏิบัติ. ใน: เอกวีร์ ศรีปริวุฒิ, อภิรัตน์ หวังธีระประเสริฐ, วิทวัส จิตต์ผิวงาม, สุธาทิพย์ พงษ์เจริญ, [บรรณาธิการ]. โรคเรื้อรังที่พบบ่อยทางอายุรศาสตร์: แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2559;

หน้า 205-34.

International Diabetes Federation (IDF). Global Diabetes data report 2000-2045. [Internet]. Brussel. Diabetes around the world in 2021. [cited 2023 Dec 23]. Available from: https://diabetesatlas.org/data/en/world/

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถานการณ์โรคเบาหวานในภาคพื้นแปซิฟิก (Western Pacific) ในปี พ.ศ. 2560. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.dmthai.org/new/index.php/sara-khwam-ru/the-chart/the-chart-1/2018-02-08-14-52-46

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (ปี 2560-2564). [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 23 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020

ประทุม สร้อยวงค์, [บรรณาธิการ]. การพยาบาลอายุรศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่ : โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2564.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. 2566.

ปราณี เกตดี, ปัทมา สุริต. ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะรับไว้ในโรงพยาบาลต่อผลลัพธ์ทางคลินิก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2562;42(3):21-30.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. การประเมินผู้ป่วยระยะวิกฤต : FANCAS ใน: เพลินตา ศิริการ, สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, กาญจนา สิมะจารึก, ชวนพิศ ทำนอง. [บรรณาธิการ]. การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา. 2559; หน้า 1-38.

Health Data Center (HDC). รายงานตามตัวชี้วัดในระดับ NCD Clinic Plus ปี 2566. [Internet]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=b06544333648315e83c83445a62dd94e

เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, ดลวิวัฒน์ แสนโสม. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2562;25(1):25-42.

พิมาภรณ์ อัครแสง. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ: กรณีศึกษา. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564;18(1):106-21.

ศุภนา ชื่อสกุล. ภาวะหัวใจล้มเหลว. ใน: เอกวีร์ ศรีปริวุฒิ, อภิรัตน์ หวังธีระประเสริฐ, วิทวัส จิตต์ผิวงาม, สุธาทิพย์ พงษ์เจริญ, [บรรณาธิการ]. โรคเรื้อรังที่พบบ่อยทางอายุรศาสตร์: แนวทางการวินิจฉัยและดูแลรักษา.พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2559; หน้า 43-57.

ธนัญญา บุญยศิรินันท์. หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน. ใน: มณฑิรา มณีรัตนะพร, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย, ศรีสกุล จิรกาญจนากร. อายุรศาสตร์ทันใจ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2560; หน้า 142-8.

พรธีรา พรมยวง. ประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตระหว่าง captopril (25 มก.) เปรียบเทียบกับ hydralazine (25มก.) ชนิดรับประทานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2565;14(1):17-30.

ดวงพร รัตนะวราหะ. การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง : กรณีศึกษา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร 2560;26(2):53-64.

Praphasorn W, Munyeun S. Systematic Literature Review: Assessment of Patients with Critical Illness and Nursing Outcomes. Pnu Sci J 2023;15(2):176-92.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13