การพัฒนาระบบเบิกจ่ายวัสดุและผลิตภัณฑ์สนับสนุนทางการแพทย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • สุจิต รัตนปัญญา โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความสูญเปล่า, กระบวนการเบิกจ่าย, ผลิตภัณฑ์สนับสนุนทางการแพทย์

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบเบิกจ่ายวัสดุและผลิตภัณฑ์สนับสนุนทางการแพทย์ เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการเบิกจ่าย รวมถึงหาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของความล่าช้าดังกล่าว การวิจัยปฏิบัติการที่ประยุกต์ใช้เทคนิค ECRS ในการดำเนินการ ใช้กลุ่มตัวอย่าง 377 คน (ร้อยละ 21.0) เพื่อตอบแบบสอบถามเชิงปริมาณ และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 12 คน ดำเนินการใน ปี พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา แผนภูมิการไหล และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และแผนภูมิการไหล (Flow Process Chart)

ผลการศึกษา พบว่า ความสูญเปล่าที่เกิดจากความล่าช้าในกระบวนการเบิกจ่าย มีความสัมพันธ์กับกระบวนการดำเนินงาน การจัดเก็บวัสดุและผลิตภัณฑ์ภายในคลัง และการรอคอย (R2 = 0.989) ผลจากการใช้เทคนิค ECRS สามารถลดขั้นตอนการดำเนินงานจาก 20 ขั้นตอน เหลือ 13 ขั้นตอน (percent change = 0.35) รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินงาน ลดลงจาก 4,062.98 นาที เหลือ 775.08 นาที (percent change = 0.81) โดยรูปแบบการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การปรับปรุงขั้นตอนในการทำงาน 2) การปรับปรุงพื้นที่จัดเก็บวัสดุ และ 3) การใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในการจัดส่งผลิตภัณฑ์

การพัฒนาระบบเบิกจ่ายวัสดุและผลิตภัณฑ์สนับสนุนทางการแพทย์สามารถลดความสูญเปล่าจากความล่าช้าได้ราว 5 เท่า อย่างไรก็ตาม ควรมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาในอนาคต 

เอกสารอ้างอิง

Barsan RM, Codrea FM. Lean university: applying the ECRS method to improve an administrative process. MATEC Web of Conferences 290, 07003. 2019.

Dawood LM, Abdullah ZH. Study Impact of Overall Equipment and Resource Effectiveness onto Cement Industry. Journal of University of Babylon, Engineering Sciences 2018;26(3):187–98.

Burawat P. Productivity Improvement of Carton Manufacturing Industry by Implementation of Lean Six Sigma, ECRS, Work Study, and 5S: A Case Study of ABC Co., Ltd. Journal of Environmental Treatment Techniques 2019;7(4):785-93.

Kelendar H, Mohammed MA. Lean and the ECRS Principle: Developing a Framework to Minimize Waste in Healthcare Sectors. IJPHCS 2020;7(3):98–110.

ณัชชา รุ่งโรจน์พาณิชย์. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2560;2(1):31-5.

กัญจน์นรี จิตต์ธนานันท์, นุศราพร เกษสมบูรณ์, นิวัฒน์ นัดสถาพร. การใช้แผนที่สายธารคุณค่าเพื่อพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายยาภายในโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2560;13(4):50-62.

วรวุฒิ สีหา, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล. การพัฒนาระบบเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากโรงพยาบาลกมลาไสยโดยประยุกต์ใช้การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(1):670-82.

ชรัณ ประยูรเสถียร, ภิญญดา นฤบุญญฤทธิ์, กิตติภัค เจ็งฮั้ว. การพัฒนาคุณภาพระบบเติมยาโดยใช้แนวคิดลีนในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชัยนาท. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2564;17(4):75-87.

วิทยา ปารีเลียม , ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง. การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยการใช้แนวคิดขจัดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า (Lean) มาประยุกต์ใช้กรณีศึกษาโรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2566;9(1):93-105.

ณฐพร สารโกศล, ปณัทพร เรืองเชิงชุม. การลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอยในกระบวนการจัดเตรียมยากลับบ้านด้วยการประยุกต์ใช้ระบบแถวคอยและตัวแบบจำลองสถานการณ์: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2564;38(2):198-225.

Heizer J, Render B. Operations management. 10th Edition. Upper Saddle River, N.J. : Prentice Hall. 2011.

สรณ์ศิริ เรืองโลก. การปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิตสมอลล์เอิร์ทลีคเบรกเกอร์. [การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560.

วิชญา จันทนา, วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ. การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตเซรามิค: กรณีศึกษาโรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2563;37(2):58–83.

Womack JP, Jones DT. Lean Thinking: Banish Waste and Create Wealth in Your Corporation. New York: A Division of Simon & Schuster, Inc. 2003.

Heizer J, Render B. Operations management. 10th edition). Boston: Pearson/Prentice Hall. 2011.

Kiran DR. Work Organization and Methods Engineering for Productivity. Cambridge, MA: BSP Book. 2017.

ณัชชา รุ่งโรจน์พาณิชย์. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน เพื่อพัฒนากระบวนการเบิกและจ่ายยาจากคลังยา. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 2560;2(1):31-35.

ชรัณ ประยูรเสถียร, ภิญญดา นฤบุญญฤทธิ์, กิตติภัค เจ็งฮั้ว. การพัฒนาคุณภาพระบบเติมยาโดยใช้แนวคิดลีนในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชัยนาท. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2564;17(4):75-87.

วิทยา ปารีเลียม, ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง. การพัฒนารูปแบบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยการใช้แนวคิดขจัดความสิ้นเปลืองและสูญเปล่า (Lean) มาประยุกต์ใช้กรณีศึกษาโรงพยาบาลแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น 2566;9(1):94-105.

Trakulsunti Y, Trakoonsanti L. The use of Lean tools to reduce inpatient waiting time in a Thai public hospital: an action research study. Leadership in Health Services 2021;34(2):84-97.

Ahmad ANA, Ahmad MF, Hamid NA, Hamid NAA, Chuan LT, Nawanir G, et al., Implementation of Lean technique towards reducing waiting time in a public healthcare using Arena Simulation. International Journal of Integrated Engineering 2021;13(7):201-214.

นฤมล ไชยวารีย์, ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์, และ บุญพิชชา จิตต์ภักดี. การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้บริการคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารสภาการพยาบาล 2563;35(4):112-127.

Kelendar H, Mohammed MA. Lean and the ECRS principle: Developing a Framework to minimize waste in healthcare sector. International Journal of Public Health and Clinical Sciences 2020;7(3):98-110.

Dawood LM, Abdullah ZH. WASTE MANAGEMENT OF AN INDUSTRIAL PRODUCT USING LEAN MANUFACTURING. Educational Research International 2019;8(3):51-62.

Burawat P. Productivity Improvement of Carton Manufacturing Industry by Implementation of Lean Six Sigma, ECRS, Work Study, and 5S: A Case Study of ABC Co., Ltd. Journal of Environmental Treatment Techniques 2019;7(4):785-93.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13 — อัปเดตเมื่อ 2024-04-22

เวอร์ชัน