ประสิทธิผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว เมืองชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ส่งเสริมพัฒนาการ, เด็กปฐมวัย, ทีมพัฒนาการเด็กและครอบครัวบทคัดย่อ
บทนำ: ร้อยละ 69.0 ของเด็กปฐมวัยในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ ยังมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า การได้รับการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสม สามารถลดปัญหาดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการเด็กระหว่างก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวเมืองชัยภูมิ
วิธีการศึกษา: การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One-group with pretest-posttest design) กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยอายุ 24-60 เดือน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental surveillance and promotion manual; DSPM) และวัดประสิทธิผลของการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยการเปรียบเทียบอัตราพัฒนาการตามเกณฑ์ประเมินตามคู่มือ DSPM ระหว่างก่อนและหลังการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ Binomial exact probability test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอัตราพัฒนาการเด็กที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามคู่มือ DSPM เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) คือ พัฒนาการรวมทุกด้าน (28.5% : 65.3%) และพัฒนาการแยกรายด้าน คือ พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา (63.2% : 93.8%) พัฒนาการด้านการใช้ภาษา (75.5% : 93.8%) พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเอง (65.3% : 85.7%)
สรุป: การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวเมืองชัยภูมิ มีประสิทธิผลต่อการเพิ่มพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้มีทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp ปีงบประมาณ 2566. [ออนไลน์]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. ผลการดำเนินการการคัดกรองพัฒนาการเด็กตามกลุ่มอายุ specialpp จังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ 2566. [ออนไลน์]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824
โรงพยาบาลชัยภูมิ. ข้อมูลการตรวจพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. ชัยภูมิ : คลินิกพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2566.
นิคม ถนอมเสียง. การคำนวณขนาดตัวอย่าง: Sample size determination. ขอนแก่น : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ม.ป.ป.
กาญจนา ลือมงคล. การคัดกรองพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2-5 ปี อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ : คลินิกพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลชัยภูมิ. 2566.
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2563.
กระทรวงสาธารณสุข. ตัวชี้วัดร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย. [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=742
มนัสมีน เจะโนะ, รอฮานิ เจะอาแซ. ผลของโปรแกรมการกระตุ้นพัฒนาการอย่างมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อพัฒนาการของเด็กอายุ 2-5 ปี. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2562;30(2):80-8.
ปฐม นวลคำ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560;12(1): 36-45.
ชัยพล ศรีธุระวานิช, พัชรินทร์ สมบูรณ์, ยุพิน สุขเกษม. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุ 3-5 ปี. [ออนไลน์]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 16 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://oec.anamai.moph.go.th/th/more-news-php-cid-108-filename-index/download/?did=200518&id=60444&reload
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.