การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง จากโรคหลอดเลือดสมอง กรณีสิทธิประกันตน: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชญานิศา มณีวรรณ กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะพึ่งพิง, โรคหลอดเลือดสมองแตก, สิทธิประกันตน

บทคัดย่อ

การศึกษาผู้ป่วยรายกรณีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่เหมาะสม สามารถกลับเข้าทำงานได้โดยเร็ว และพิทักษ์สิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และกองทุนประกันสังคม กรณีค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนกรณีหยุดงานผู้ประกันตน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ที่มีภาวะพึ่งพิงต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง  อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ สิทธิประกันสังคม โรงพยาบาลชัยภูมิ จำนวน 1 ราย โดยใช้ทฤษฎีการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลตามขั้นตอน ทฤษฎีการปรับตัวของรอย Roy's adaptation model 6 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมินพฤติกรรมการปรับตัว การประเมินสิ่งเร้า การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล การกำหนดเป้าหมายการพยาบาล การกำหนดการบำบัดทางการพยาบาล และการประเมินผล ในการให้การพยาบาล

ผลการศึกษา : พบว่า ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน ด้านร่างกาย ไม่สามารถดูแลตนเองเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันได้เนื่องจากแขนขาอ่อนแรงข้างซ้าย Motor Power Grade 1-2 ข้างขวา Grade 4 เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายเองได้น้อย เสี่ยงต่อการเกิดภาวะข้อติดเนื่องจากการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง ด้านจิตใจ ผู้ป่วยมีภาวะวิตกกังวลเนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ผู้ป่วยและผู้ดูแลรู้สึกโดดเดี่ยวเนื่องจากสูญเสียสถานะทางสังคม

สรุป : ผลการติดตามดูแลต่อเนื่อง จำนวน 5 ครั้ง ได้รับการดูแลระยะกลางไปจนถึงนำเข้าระบบการดูแลระยะยาวเมื่อครบกำหนด 6 เดือน ได้รับสิทธิผู้พิการ ได้รับการประสานจากศูนย์ประกันสังคมกองทุนเงินทดแทน อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อเนื่องที่บ้านเพื่อให้กลับเข้ามาทำงานใหม่ได้

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2554.

สถาบันประสาทวิทยา. คู่มือโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2556.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2550.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. รายงาน HDC กลุ่มรายงานมาตรฐาน ส่งเสริมป้องกัน. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=b717285d1ebab38e6cf30ca2846317cd.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา Nursing theory. กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2555.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป. กรุงเทพฯ : สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. 2562.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด. 2566.

ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู. กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

สำนักงานหลักประกันสังคมกระทรวงแรงงาน. คู่มือสำหรับประชาชนตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ. [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/a553b031b 68425e88d2e816997229fa8.pdf.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13