ปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • รำพึง จรัสสุริยสกุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การพลัดตกหกล้มเป็นปัญหาที่สำคัญในผู้สูงอายุ การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้ (Cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลห้วยแย้ อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression

ผลการศึกษา พบความชุกของการหกล้มในผู้สูงอายุ ร้อยละ 35.0 (95% CI: 29.4, 41.0) ส่วนใหญ่ หกล้มเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 79.2) และเกินกว่ากึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 52.1) เกิดจากเดินสะดุดเอง ปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดในบ้านเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 66.7) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการหกล้ม พบว่า  การมีปัญหาในการเดิน (OR(Adjusted) = 2.85; 95% CI: 1.48, 5.47) ผู้ที่มีความจำบกพร่อง (OR(Adjusted) = 1.91; 95% CI: 1.001, 3.65) และการใส่รองเท้าไม่เหมาะสม (OR(Adjusted)=  3.44; 95% CI: 1.21, 9.80) เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุ ขณะที่ การมองเห็นไม่ชัดเจน (OR(Adjusted)=  0.54; 95% CI: 0.27, 1.09) และการไม่มีราวเกาะในห้องน้ำ (OR(Adjusted) = 0.15; 95% CI: 0.03, 0.71) รวมถึงการใช้พรมลื่นที่ไม่ยึดติดกับพื้น (OR(Adjusted) = 0.16; 95% CI: 0.06, 0.41) หรือยางเกาะกันลื่น (OR(Adjusted) = 0.05; 95% CI: 0.004, 0.58) กลับเป็นการเพิ่มความระมัดระวังต่อความเสี่ยงดังกล่าว   

การหกล้มในผู้สูงอายุยังเป็นปัญหาที่น่ากังวล การเข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันอย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ดังนั้น การส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การปรับสภาพแวดล้อม และการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุประจำปี อาจเป็นแนวทางที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), 2558.

นริสา วงศ์พนารักษ์, จุฑามาศ คชโคตร, กัญจน์ณิชา เรืองชัยทวีสุข. คุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวขัว อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562;12(4):1-10.

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าว. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้นไป) ในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2565.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกัน/ประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2551.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบัวระเหว. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2565. ชัยภูมิ : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองบัวระเหว, 2565. (เอกสารอัดสำเนา).

เพ็ญรุ่ง วรรณดี, จิรพรรณ โพธิ์ทอง, อุมากร ใจยั่งยืน. การศึกษาสถานการณ์การหกล้มในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2563;14(34):126-41.

วรรณพร บุญเปล่ง, วดีรัตน์ ศรีวงศ์วรรณ, พัฒนา เศรษฐวัชราวนิช. อัตราและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการหกล้มของผู้สูงอายุ: ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยา จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2558;33(3):74-86.

รจฤดี โชติกาวินทร์, เขมกัญญา อนันต์, รัฐศาสตร์ เด่นชัย, นริศรา ชาญณรงค์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566;16(2):216-29.

Nilnate N, Jirapornkul C, Limmongkon Y. Spatial Factors Associated with fall among the Elderly in Thailand. International Journal of Geoinformatics 2022;18(5):105–13.

Arphorn S, Ishimaru T, Lertvarayut T, Kiatkitroj k, Theppitak C, ManothumA, et al. Risk Factors for Occupational Falls among Middle-aged and Elderly Farm Workers in Nan Province, Thailand. J Agromedicine 2022;27(4):402-8.

เยาวลักษณ์ คุ้มขวัญ, อภิรดี คำเงิน, อุษณีย์ วรรณลัย, นิพร ขัดตา. แนวทางการป้องกันการพลัดตกหกล้มที่บ้านในผู้สูงอายุ: บริบทของประเทศไทย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561;28(3):10-22.

ธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, แสงศุลี ธรรมไกรสร, พัฒน์ศรี ศรีสุวรรณ. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เรื่อง มาตรการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ, 2557.

Higashiyama M, Tanaka S, Watanabe O. Factors related with fall in community-dwelling older adults in Thailand. The Journal of Allied Health Sciences 2022;13(1):54-61.

Huang S, Zhou X, Liu Y, Luo J, Lv Z, Shang P, et al. High Fall Risk Associated with Memory Deficit and Brain Lobes Atrophy Among Elderly with Amnestic Mild Cognitive Impairment and Mild Alzheimer’s Disease. Frontiers in neuroscience 2022;16:896437.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราช. สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562;11(2):118-32.

ปิติพร สิริทิพากร, วีรศักดิ์ เมืองไพศาล, ดุจปรารถณา พิศาลสารกิจ, เพ็ญศรี เชาว์พานิชย์เวช, ไพฑูรย์ เหล่าจันทร์, สุทิศา ปิติญาณ, และคนอื่น ๆ. ความชุกของกลุ่มอาการสูงอายุและลักษณะของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในคลีนิกผู้สูงอายุ โรพยาบาลศิริราช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(3):21-9.

Singh RR, Maurya P. Visual impairment and falls among older adults and elderly: evidence from longitudinal study of ageing in India. BMC Public Health 2022;22(1):2324.

Dhital A, Pey T, Stanford MR. Visual loss and falls: a review. Eye(Lond) 2010;24(9):1437-46.

O’Rourke B, Walsh ME, Brophy R, Valley S, Murphy N, Conroy B, et.al. Does the shoe really fit? Characterising ill-fitting footwear among community-dwelling older adults attending geriatric services: an observational cross-sectional study. BMC 2020;20(1):55.

Menant JC, Steele JR, Menz HB, Munro BJ, Lord SR. Optimizing footwear for older people at risk of falls. J Rehabil Res Dev 2008;45(8):1167-81.

Rosen T, Mack KA, Noonan RK. Slipping and tripping: fall injuries in adults associated with rugs and carpets. J Inj Violence Res 2013;5(1):61-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28