ปัจจัยเสี่ยงและผลลัพธ์การรักษาโรคปอดอักเสบในทารกแรกเกิด : Risk factor associate Neonatal Pneumonia and Outcome of Treatment
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยทำนายการเกิดโรคปอดอักเสบและผลลัพธ์การรักษาโรคปอดอักเสบในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบย้อนหลังในทารกแรกเกิดโรคปอดอักเสบที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระยุพราชเดชอุดม ระหว่างปีงบประมาณ 2558-60 ในกลุ่มป่วยตามเกณฑ์การศึกษา จำนวน 259 ราย และกลุ่มไม่ป่วยจำนวน 264 ราย รวม 523 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน เกี่ยวกับประวัติการตั้งครรภ์ การเจ็บป่วย การคลอดของมารดา และข้อมูลทารกแรกเกิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนารายงานเป็นจำนวนค่าเฉลี่ยและร้อยละ ส่วนสถิติวิเคราะห์ใช้ univariate analysis (crude odds ratio-COR) และ multivariate logistic regression analysis (adjusted odds ratio-AOR), 95% confidence interval p-value <0.05logistic regression analysis (Analytic study) แบบ Retrospective Cohort Study
ผลการศึกษา : ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบในทารกแรกเกิดพบว่ามารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี OR 6.4, 95% CI, 3.7 to 10.8 คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล OR 5.1, 95% CI, 1.1 to 23.0 การคลอดในระยะที่ 2 นาน OR 3.4, 95% CI, 1.9 to 6.1 ทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจนแรกเกิด OR 3.1, 95% CI, 1.2 to 7.6 ได้รับการกู้ชีพแรกเกิด OR 3.1, 95% CI, 1.0 to 9.4 และ น้ำคร่ำมีกลิ่นเหม็น OR 3.1, 95% CI, 1.0 to 9.4 ส่วนปัจจัยทำนายการเกิดปอดอักเสบในทารกแรกเกิดได้แก่ มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี AOR, 17.50; 95% CI, 0.33 to 0.42 การฝากครรภ์น้อยกว่า 5 ครั้ง AOR, 17.35; 95% CI, 0.33 to 0.44 มารดาที่มีอาชีพเกษตรกรรม AOR, 17.01; 95% CI, 0.32 to 0.41 มารดามีอาชีพรับจ้าง AOR, 14.02; 95% CI, 0.24 to 0.32 น้ำเดินมากกว่า 18 ชั่วโมง AOR, 10.16; 95% CI, 0.16 to 0.24 การคลอดระยะที่ 2 นาน AOR, 9.57; 95% CI, 0.15 to 0.22 และทารกมีไข้แรกคลอด AOR, 8.61; 95% CI, 0.13 to 0.29 และผลลัพธ์การรักษาพบว่าหายจากโรค 72.2% ได้รับการส่งต่อ26.6%และกลับมารักษาซ้ำภายใน 1.2%
สรุป : ปัจจัยทำนายการเกิดปอดอักเสบในทารกแรกเกิดได้แก่ มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี การฝากครรภ์น้อยกว่า 5 ครั้ง มารดที่มีเศรษฐานะไม่ดี มีอาชีพเกษตรกรรม อาชีพรับจ้าง น้ำเดินมากกว่า 18 ชั่วโมง และมีผลลัพธ์การรักษาโรคปอดอักเสบที่ดี
Abstract
AIMS : To study risk factor and predictor risk factor for neonatal pneumonia and outcome of treatment
METHODS : Analytic study retrospective cohort study was conducted. The study population were 523 participants which neonatal pneumonia 259 participants and non neonatal pneumonia 264 participants. The medical and delivery records between 2015 and 2060 were reviewed. We used logistic regression procedures to estimate the adjusted odds ratio (AOR) and 95% confidence intervals (CI) of potential risk factors for neonatal pneumonia
RESULTS : The risk factors such as maternal age less than 20 years OR 6.4, 95% CI, 3.7 to 10.8, birth before admit OR 5.1, 95% CI, 1.1 to 23.0, prolong second stage of labour OR 3.4, 95% CI, 1.9 to 6.1, birth asphyxia OR 3.1, 95% CI, 1.2 to 7.6, resuscitation at birth OR 3.1, 95% CI, 1.0 to 9.4, Foul smelling liquor OR 3.1, 95% CI, 1.0 to 9.4, Factor Predictor were maternal age less than 20 years AOR, 17.50; 95% CI, 0.33 to 0.42, antenatal care less than 5 time AOR, 17.35; 95% CI, 0.33 to 0.44, agricultural occupation AOR, 17.01; 95% CI, 0.32 to 0.41, worker occupation AOR, 14.02; 95% CI, 0.24 to 0.32, prolong rupture of membrane AOR, 10.16; 95% CI, 0.16 to 0.24, prolong second stage AOR, 9.57; 95% CI, 0.15 to 0.22, fever at birth AOR, 8.61; 95% CI, 0.13 to 0.29 and outcome of treatment were improve 72.2%, referral 26.6% readmit in 28 day 1.2%
CONCLUSION : Risk factors and predictors of neonatal pneumonia include: Maternal age less than 20 years, prenatal care less than 5 times, poor quality of life, agricultural occupation, prolong rupture of membrane more than 18 hours and good outcome of treatment.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-26 (2)
- 2021-08-26 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.