ผลการรักษาภาวะตาบอดจากต้อกระจกด้วยการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ตาบอดจากต้อกระจก, ผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective Study) เพื่อศึกษาการมองเห็นของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก ก่อนและหลังได้รับแก้ไขหลังการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยจากการผ่าตัดต้อกระจก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตาบอดจากต้อกระจก และมารับการรักษาโดยการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก ที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2560 จำนวน 690 ตา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบบันทึกข้อมูลการมองเห็นของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กโดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสืบค้นจากฐานข้อมูลโรงพยาบาล ตามรหัส ICD10 ของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ แล้วจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน ผู้ป่วยจากผลให้บริการก่อนและหลังการแก้ไข ในสัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 6 และเดือนที่ 3 โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยตาบอดจากต้อกระจก และมารับการรักษาโดยการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก จำนวน 690 ตา เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.81 เพศชาย ร้อยละ 43.19 อายุเฉลี่ย 66 ปี (S.D.=9.04) การวินิจฉัย Mature Cataract ร้อยละ 53.04 Nuclear Cataract ร้อยละ 46.09 และ Posterior Subcapsular Cataract ร้อยละ 0.87 ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก แผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก เมื่อวัดการมองเห็น ก่อนการแก้ไขหลังการผ่าตัด ด้วย Snellen Chart พบว่า ระดับสายตาก่อนการแก้ไข ภาพรวม ดีกว่าหรือเท่ากับ 6/18 หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ 312 ตา คิดเป็น ร้อยละ 45.22 หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์ 529 ตา คิดเป็นร้อยละ 76.67 และ หลังผ่าตัด 12 สัปดาห์ 648 ตา คิดเป็นร้อยละ 93.91 และระดับสายตาหลังการแก้ไข ภาพรวม ดีกว่าหรือเท่ากับ 6/18 หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ 550 ตา คิดเป็นร้อยละ 79.71 หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์ 656 ตา คิดเป็นร้อยละ 95.08 และ หลังผ่าตัด 12 สัปดาห์ 680 ตา คิดเป็นร้อยละ 98.55 และเมื่อเปรียบเทียบระดับการมองเห็นระดับดีกว่าหรือเท่ากับ 6/18 ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก โดยไม่ใช้เครื่องสลายต้อกระจก ก่อนและหลังการแก้ไขหลังผ่าตัด 1 สัปดาห์ 6 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ พบว่า ระดับการมองของผู้ป่วยหลังได้รับการแก้ไขมีค่าสูงขึ้น
สรุป วิธีการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก (Manual Small Incision Cataract Surgery) ช่วยให้ผู้ป่วยมีการมองเห็นที่ดีขึ้น ปลอดภัย และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการผ่าตัด เหมาะสำหรับโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกลที่ยังไม่มีเครื่องมือผ่าตัดสลายต้อกระจกโดยใช้คลื่นความถี่สูง (Phacoemulsification)
เอกสารอ้างอิง
Resnikoff S, Pascolini D, Etyaale D, Kocur I, Pararajasegaram R, Pokharel, GP. (2007). The National Survey of Blindness, Low Vision and Visual Impairment in thailand 2006-2007. Thai J Publ Hlth Ophthalmol, 21(1):10-94.
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สธ.เร่งขจัดตาต้อกระจกผู้สูงอายุ เข้าถึงบริการลดการตาบอดมองไม่เห็นด้วย 7 มาตรการ. [ออนไลน์]. [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://pr.Moph.go.th/iprg/include/admin_/show_hotnew.php? idHot_new=83452
สำนักบริหารการสาธารณสุข สานักงาน ปลัดกระทรวง. (2556). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, โกศล คำพิทักษ์. (2550). ตำราจักษุวิทยา. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ช่อทิพ เรืองพีระกุล. (2558). เปรียบเทียบผลการผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมด้วยวิธี Extracapsular Cataract Extraction และ Phacoemulsification ในโรงพยาบาลสมเด็จ พระสังฆราชองค์ที่ 17. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(5):961-6.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ruit S,Tabin G, Chang D, Bajracharya L, Kline DC, Richheimer W, et al. (2007). A prospective randomizedclinical trial of phacoemulsification vs manual sutureless smallincision extracapsular cataract surgery in Nepal. Am J Ophthalmol, 143(1):32-8.
Kosakarn P. (2009). Double nylon loop for manual small-incision cataract surgery. J Cataract Refract Surg, 35(3):422-4.
Kongsap P. (2101). Sutureless large-incision manual cataract extraction using the kongsap technique: outcome of a prospective study. International journal of ophthalmology, 3(3):241-4.
The World Health Report. (1998). Life in the 21st Century – A Vision for All. World Health Organization, Geneva, Page 47.
Reshma Balan, KV Raju. (2012). A Comparative Study of Endothelial Cell Loss In Small Incision Cataract Surgery and phacoemulsification. Kerala journal of ophthalmology, 24(1):63-5.
Ruit S, Robin AL, Pokhrel RP, Sharma A, DeFaller J. (1991). Extracapsular cataract extraction in Nepal. 2-year outcome. Arch Ophthalmol, 109(12):1761-3.
Chan FM, Mathur R, Ku JJ, Chen C, Chan SP, Yong VS, et al. (2003). Short-term outcomes in eyes with posterior capsulerupture during cataract surgery. J Cataract Refract Surg, 29(3):537-41.
Kosakarn P. (2009). Double nylon loop for manual small-incision cataract surgery. J Cataract Refract Surg, 35(3):422-4.
Van Zyl L, Kahawita S, Goggin M. (2014). Manual Small Incision Extracapsular Cataract Surgery in Australia. Clin Exp Ophthalmol, 42(8):729–33.
ผกามาศ ศรีหะชัย. (2559). ผลการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กสำหรับต้อชนิดสุกงอมในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 33(2):129-37.
Zare M, Javadi MA, Einollahi B, Baradaran-Rafii AR, Feizi S, Kiavash V. (2009). Risk Factors for Posterior Capsule Rupture and Vitreous Loss during Phacoemulsification. J Ophthalmic Vis Res, 4(4):208-12.
Hayashi K, Hayashi H, Nakao F, Hayashi F. (2003). Outcomes of surgery for posterior polar cataract. J Cataract Refract Surg, 29(1):45-9.
ไพบูลย์ บวรวัฒนดิลก, ณวพล กาญจนารัณย์, และภาวินี อมรพันธางค์. (2559). การศึกษาภาวะแทรก ซ้อนขณะทาการผ่าตัดต้อกระจกโดยคลื่นเสียงอัลตราซาวด์ โดยแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารจักษุธรรมศาสตร์, 11(1):9-18.
Venkatesh R, Das M, Prashanth S, Muralikrishnan R. (2005). Manual small incision cataract surgery in eyes with white cataracts. Indian J Ophthalmol, 53(3):173-6.
Gogate PM. (2009). Small incision cataract surgery: complications and mini-review. Indian J Ophthalmol, 57:45-9.
Renu MM, Abha G, Rupali DM, Khevna P. (2012). A comparative study of surgically induced astigmatism in superior and temporal scleral incision in Manual Small Incision Cataract Surgery. National J of Med research, 2:497-500
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.