This is an outdated version published on 2019-07-31. Read the most recent version.

ความชุกและผลการทดลองใช้โปรแกรมให้ข้อมูลเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ : The Prevalence and An Effect of the Informational Program to reduce depression on Depression in Teenage Pregnancy

ผู้แต่ง

  • ปิยธิดา จันทร์ดา Piyathida Chanda

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ภาวะซึมเศร้าในกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ส่งผลให้ความอยากอาหารน้อยลด การนอนหลับพักผ่อนน้อยลง ทารกในครรภ์ตัวเล็กกว่าอายุครรภ์จริง มีคุณภาพชีวิตต่ำส่งกระทบต่อการทำบทบาทหน้าที่ของมารดาหลังคลอด

วิธีการศึกษา วิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาความชุกและผลการทดลองใช้โปรแกรมให้ข้อมูลเพื่อลดภาวะซึมเศร้าในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตั้งครรภ์อายุระหว่าง 14 ปี ถึง อายุน้อยกว่า 20 ปีที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลบ้านไผ่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์แบบวัดภาวะซึมเศร้า CES-D และโปรแกรมการให้ข้อมูลเพื่อลดภาวะซึมเศร้า ศึกษาความชุกภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นโดยใช้แบบวัดภาวะซึมเศร้า CES-D หลังจากนั้นคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน นำเข้าโปรแกรมการให้ข้อมูลซึ่งโปรแกรมประกอบด้วย แผนการให้ความรู้ทางสุขภาพจิตศึกษา (Psychoeducation) เรื่องภาวะซึมเศร้าการปฏิบัติตัวในระหว่างตั้งครรภ์ และการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆ (Social support) หลังจากนั้น 6 เดือนจึงประเมินภาวะซึมเศร้าหลังเข้าโปรแกรมเก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง มิถุนายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Pair t-test วิเคราะห์ข้อมูลภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังการใช้โปรแกรมให้ข้อมูล

ผลการศึกษา ความชุกของภาวะซึมเศร้าในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นพบ ร้อยละ 21.58 หญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์มีอายุเฉลี่ย 16.7± 1.2 ปี การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 63.3 สถานภาพการสมรสพบว่าอยู่ด้วยกันโดยไม่ได้มีการสมรสตามประเพณี/จดทะเบียนสมรส ร้อยละ 76.7 มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 73.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว 5,620± 2.9 บาท อายุครรภ์เฉลี่ย 19.2± 4.9 สัปดาห์ ปัจจัยที่ส่งเสริมมีภาวะซึมเศร้ามากที่สุดได้แก่ปัญหาด้านการเรียน ร้อยละ 66.7 รองลงมาได้แก่ มีความเครียดขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 60.0 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจากแบบวัดภาวะซึมเศร้าก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการให้ข้อมูลเพื่อลดภาวะซึมเศร้ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

สรุป ความชุกของภาวะซึมเศร้าในหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์ ร้อยละ 21.58 และโปรแกรมการให้ข้อมูลสามารถลดภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-31

เวอร์ชัน