การเปรียบเทียบอาการปวดระหว่างการให้ยาลดปวด morphine และ pethidine ในผู้ป่วย หลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • ทิพา ปรุงชัยภูมิ กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการความปวด, การระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย, กลุ่มยาระงับความปวด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการปวดระหว่างการให้ morphine และ pethidine ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 60 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่อุปกรณ์การให้ยา แบบประเมินความปวด ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการประเมินและการบริหารจัดการความปวด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิสัญญีพยาบาลประจำห้องพักฟื้น ประเมินและลงข้อมูล ระหว่างเดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t-test, Chi- square, Fisher’s Exact Test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 30 – 34 ปี ร้อยละ 41.7, มีการศึกษาระดับอนุปริญญา ปวช/ปวส ร้อยละ 33.3, ปฏิเสธโรคประจำตัว ร้อยละ 88.3, ครรภ์แรก ร้อยละ 63.3, ส่วนใหญ่อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ร้อยละ 21.7, ครรภ์ที่ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 36.7, ส่วนใหญ่อายุครรภ์ 37 และ 38 สัปดาห์ ร้อยละ 13.3, ระดับความปวดของกลุ่มตัวอย่าง ที่ต้องได้รับการบริหารจัดการเมื่อรับเข้าห้องพักฟื้น 15-30 นาที และการใช้ยาลดปวดทั้ง morphine และ pethidine ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

เอกสารอ้างอิง

วรรณา สมบูรณ์วิบูลย์, และคณะ. (2540). ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพฯ : บริบัทพีเอลิฟวิ่งจำกัด.

ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, และคณะ. (2550). วิสัญญีปฏิบัติโดยใช้ปัญหาเป็นแนวทาง. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

Bart Albert E. (1999). Basic Statistical Concept. New Jersey: Prenttice_Hall,Inc.

เสาวภา ไพศาลพันธ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลชัยภูมิ. การศึกษาอิสระ งานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล.โรงพยาบาลชัยภูมิ.

ปิ่น ศรีประจิตติชัย. (2549). การรับประทานยาเด็กซ์โตรเมทรอแฟนและ/หรืออิโทร์ดอกสิบก่อนผ่าตัดเพื่อระงับปวดหลังการผ่าตัดผ่านกล้อง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพ. คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-31 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-27

เวอร์ชัน