ผลการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ลภิสรา สวัสดิรักษ์ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • พรนิภา ลีละธนาฤกษ์ พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • นรินทร พันสาง พยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ศันสนีย์ ชัยบุตร พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการปฏิบัติ, การป้องกัน, ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยเฉพาะในหอผู้ป่วยหนัก พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ศึกษาผลการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 – เดือนเมษายน 2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ เลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติ และแบบเฝ้าระวังการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ การส่งเสริมการปฏิบัติ ประกอบด้วย การอบรมความรู้ การติดโปสเตอร์เตือน การสนับสนุนคู่มือ การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และการให้ข้อมูลย้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติไควสแควร์ และค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการส่งเสริมการปฏิบัติ บุคลากรทางการพยาบาลมีการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจถูกต้องเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 26 เป็นร้อยละ 75 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจลดลงจาก 12.26 ครั้งต่อ 1,000 วัน ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเป็น 2.68 ครั้งต่อ 1,000 วัน ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ (ความแตกต่างของความเสี่ยง = 6.11; 95% CI: 2.12-17.65)

ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญต่อการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ จึงควรส่งเสริมปฏิบัติการพยาบาลที่ถูกต้องในหอผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและผู้รับบริการมีความปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง

Speck K, Rawat N, Weiner NC, Tujuba, H. G, Farley D, Berenholtz S. A systematic approach for developing a ventilator-associated pneumonia prevention bundle. Am J Infect Control, 2016;44(6):652-6.

Wip C, Napolitano L. Bundles to prevent ventilator-associated pneumonia: how valuable are they?. Curr Opin Infect Dis, 2009;22(2):159-66.

Muscedere JG, Martin CM, Heyland DK. The impact of ventilator-associated pneumonia on the Canadian healthcare system. J Crit Care, 2008;23(1):5-10.

Melsen WG, Rovers MM, Groenwold RH, Bergmans DC, Camus C, Bauer TT, et al. Attributable mortality of ventilator-associated pneumonia: a meta-analysis of individual patient data from randomized prevention studies. Lancet Infect Dis, 2013;13(8):665-71.

ศิริพร แสงสว่าง. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการควบคุมการติดเชื้อต่อการปฏิบัติของบุคลากรทางสุขภาพและอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย, 2553; 20(2):35-49.

งานหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชัยภูมิ. ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2557.

Tablan OC, Anderson LJ, Besser R, Bridges C, Hajjeh R. Guidelines for Preventing Health-Care--Associated Pneumonia, 2003. MMWR, 2004; 53(RR-3):1-36.

American Association of Critical-Care Nurses. AACN Practice Alert: Ventilator‐Associated Pneumonia. AACN Advanced Critical Care, 2005;16(1):105-9.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Patient Safety Goals : SIMPLE. นนทบุรี สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.), 2551.

กมลวัลย์ ใครบุตร. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลทั่วไป. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร, 2558;42(ฉบับพิเศษ):95-104.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-31

เวอร์ชัน