ภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 – 12 เดือน ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลแก้งคร้อ

ผู้แต่ง

  • จตุพร ดวงเพชรแสง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

โลหิตจาง, ความเข้มข้นของเลือด (Hct)

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็ก สาเหตุส่วนใหญ่ของโลหิตจางในเด็กเกิดจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะและหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ ส่งผลให้เด็กเติบโตช้า สมาธิสั้น เป็นอุปสรรคสำหรับการพัฒนาเด็กให้เติบโตเต็มศักยภาพ  

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโลหิตจางและผลการรักษาภาวะโลหิตจางด้วยยาน้ำธาตุเหล็กในคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลแก้งคร้อ

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา 

วิธีการศึกษาวิจัย : เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกเด็กอายุ 6 เดือน – 1 เดือน ที่มารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี ตั้งแต่ 1 ต.ค. 58 – 30 ก.ย. 59

ผลการศึกษา : พบว่าเด็กอายุ 6 เดือน – 12 เดือน มีภาวะโลหิตจาง 60 จาก 214 คน คิดเป็น ร้อยละ 28.0 กลุ่มอายุ 9 – 10 เดือน มีภาวะโลหิตจางมากที่สุด 49 คน (31.6%) โดยใช้ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hct) ที่น้อยกว่า 33% เด็กที่มีโลหิตจางมีค่าเฉลี่ยของ Hct เท่ากับ 31 เป็นเพศชายร้อยละ 27.7 เพศหญิง ร้อยละ 26.6 เด็กที่รับประทานนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก พบภาวะโลหิตจางมากที่สุด 39 คน (41.9%) กลุ่มเด็กที่มีน้ำหนักตามมาตรฐานพบภาวะโลหิตจางมากที่สุด 53 คน (32.5%) เด็กอายุ 6 -12 เดือน หลังตรวจพบภาวะโลหิตจาง จะได้รับการรักษาด้วยยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก หลังให้การรักษาด้วยยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเป็นเวลา 1 – 2 เดือน พบมีการเพิ่มขึ้นของ Hct ร้อยละ 58.2 และ Hct เพิ่ม >3% ตามมาตรฐานการรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็ก คิดเป็นร้อยละ 18.6 และเด็ก 18 คน (41.8%) ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก โดย 5 คน (11.6%) มี Hct เท่าเดิม และ 13 คน (30.2%) มี Hct ลดลง ซึ่งสะท้อนว่าปัญหาภาวะโลหิตจางที่ควรติดตามและตรวจหาสาเหตุอื่นๆ เช่น ธาลัสซีเมียต่อไป

สรุป : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 – 12 เดือน ในโรงพยาบาลแก้งคร้อ พบมากในกลุ่มอายุ 9 – 10 เดือน, กลุ่มเด็กที่รับประทานนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือน และเด็กที่มีน้ำหนักตามมาตรฐาน ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาอื่น ซึ่งต้องศึกษาถึงปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุ เช่น ภาวะโภชนาการของมารดาและภาวะซีดของมารดาต่อไป

เอกสารอ้างอิง

Kliegman RM, Stanton BF, St.Geme JW, Schor NF, Behrman RE, editors. Iron-Deficiency Anemia. Nelson Textbook of pediatrics. 20th ed. Philadelphia : Elsevier Saunders, 2016 :2323-26

โครงการพัฒนาข้อเสนอเพื่อปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์และระบบบริการ. ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค.สำหรับปีงบประมาณ 2559 ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. ร่างมาตรฐานการทำงาน. การป้องกันโลหิตจางในเด็ก. [10 กุมภาพันธ์ 2560] Available from :URL:http://www.eurodrugthailand.com/files/QS-anemai.pdf

Tantrachewathorn S, Lohajaroensub S. Incidence and risk factor of iron deficiency anemia in term infants. J Med Assoc Thai. 2005;88(1):44-51.

ACC/SCN (United Nations Administrative Committee on Coordination, SubCommittee on Nutrition). 4th. Report on The World Nutrition Situation. Nutrition throughout the Life Cycle. Geneva, 2000.

World Health Organization. The World Health Report2002: Reducing risks, promoting healthy life. Geneva:World Health Organization; 2002.

Lilleyman J, Hann I, Blanchette, editors. Iron deficiency. Pediatric Hematology. second edition. London: Churchill Livingstone, 1999:127-44.

Sungthong R, Mo-Suwan L, Chongsuvivatwong V. Effect of haemoglobin and serum ferritin on cognitive function in school children. Asia Pac J Clin Nutr. 2002;11:117-22.

Bruner AB, Joffe-A, Duggan AK, Casella JF, Brandt J. Randomized study of cognitive effects of iron supplementation in non anemic adolescent girls. Lancet. 1996;348:992-6.

Idjradinata P, Pollit E. Reversal of developmental delays in iron deficiency in infants treated with iron. Lancet. 1993;341:1-4.

Kazal LA, Jr. Prevention of iron deficiency in infants and toddlers. Am Fam Physician. 2002;66(7):1217-24.

กิตติ ต่อจรัส. การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางรวมทั้งการให้ธาตุเหล็กเสริมอาหารในเด็กไทย. เวชศาสตร์แพทย์ทหารบก. 2552; 62(3):155-9.

กิตติ ต่อจรัส. การตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางรวมทั้งการให้ธาตุเหล็กเสริมอาหารในเด็กไทย. เวชศาสตร์แพทย์ทหารบก. 2552; 62(3):155-9.

Kleinman R, ed. Committee on Nutrition. Iron deficiency. Pediatric nutrition handbook. 5th ed. [Washington, D.C.] : American Academy of Pediatrics, 2004:299–312.

กรมอนามัย. รายงานผลการทบทวนนโยบายด้านการสงเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเด็กอายุ 0 - 5 ปี ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กรมอนามัย, 2555.

The Royal College of Pediatricians of Thailand and the Pediatric Society of Thailand. Clinical practice guideline for Thai Pediatricians. Bangkok : Hua Num Printing, 1999.

Kunara Hanapruk S, Sridama V, Jandeeying V, Singalaranija S, ed. Screening for anemia and ironsupplementation in Thai children. Guidelines of health supervision in Thai population. Bangkok: INS Print, 2000:65-6.

กิตติ ต่อจรัส, รัชฏะ ลำกูล. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาภาวะโลหิตจาง: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศ.[10 กุมภาพันธ์]. Available from : http://www.thaipediatrics.org/html/slidedetail_news.php?nid=b83aac23b9528732c23cc7352950e880&head=edu.

Earl R, Woteki CE, ed. Institute of Medicine Committeeon the Prevention, Detection, and Management of Iron Deficiency Anemia Among U.S. Children and Women of Childbearing Age, iron deficiency anemia: recommended guidelines for the prevention, detection, and management among U.S. children and women of childbearing age. Washington, D.C: National Academy Press, 1993.

Kaye R, Oski Fa, Barness LA, editors. Core Textbook of Pediatrics. 3rd ed. Philadelphia : Lippincott; 1989:62.

วีณา มงคลพร. สถานการณ์และผลการรักษาภาวะโลหิตจางในคลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. 2556;7(15):18-35.

พชรวรรณ ลีลาภิรมย์ชัย. การศึกษาประสิทธิผลการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มรับประทานธาตุเหล็กเสริมทุกวันกับทุกสัปดาห์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556.

กิตติพงษ์ คงสมบูรณ์, สะการะ หัศภาดล, นัฎการณ์ วงศ์จิตรัตน์ และคณะ. ภาวะโลหิตจางของเด็กนักเรียน ในอำเภอองครักษ์ นครนายก เปรียบเทียบตามภาวะโภชนาการ กลุ่มอายุ และเพศ: crosssectionl study. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ..2549;13(3):225-33.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-31

เวอร์ชัน