ผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ สู่หนองบัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ไดอาน่า ศรีพรกิจขจร กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

เบาหวาน, HbA1C, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก ผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งได้รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อการดูแลแบบใกล้บ้านใกล้ใจและลดความแออัดของโรงพยาบาลชัยภูมิ ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังมีปัญหาการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี (HbA1C≥7%)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ของผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองชัยภูมิปี 2559 และปี 2560

วิธีดำเนินการ: เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีกระบวนการพัฒนาโดย การวิเคราะห์ผลการรักษา และปัญหาการดำเนินงานปี 2559, วางแผนการดำเนินงานร่วมกับ รพ.สต., จัดทำแนวทางการดำเนินงาน, แผนการตรวจสุขภาพผู้ป่วย, อบรมบุคลากร รพ.สต.เพื่อพัฒนาความรู้, คืนข้อมูลผล Labประจำปีให้ผู้ป่วย, ให้ความรู้และเสริมพลังผู้ป่วยด้วย 3อ2ส., แพทย์ออกตรวจพิจารณาปรับยาที่ รพ.สต., มีระบบการปรึกษาแพทย์และปรึกษาปัญหาต่างๆทางไลน์กลุ่ม และโทรศัพท์, มีระบบส่งต่อผู้ป่วย, พัฒนาความรู้ อสม. ส่งเสริมครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานต่อเนื่อง  

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.0 อายุเฉลี่ย 62.3±9.9 ปี อายุต่ำสุด 25 ปี สูงสุด 92 ปี ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 56.0 กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของ HbA1C ปี 2559 = 7.6±1.9% ปี 2560=7.2±1.7% ซึ่งค่าเฉลี่ยของ HbA1C ปี 2560 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) 

กลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี (HbA1C <7%) ในปี 2559 = 643 ราย ร้อยละ 43.2 ปี 2560 =733 ราย ร้อยละ 49.3 ซึ่งปี 2560 มีผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น 

กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูง (HbA1C≥7%) ในปี 2559=845 ราย ร้อยละ 56.8 ในปี 2560=755 ราย ร้อยละ 50.7 ซึ่งมีอัตราลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559  

ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ในกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูง (HbA1C≥7%) ในปี 2559 พบว่าค่าเฉลี่ยของ HbA1C ปี 2559=8.9±1.4 % ปี2560 = 8.1 ±1.5 % ซึ่งค่าเฉลี่ยของ HbA1C ลดลงและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.001) 

สรุป: การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.(2559). ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2559. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2559, จาก : http://thaincd.com/information-statistic/ non-communicable-disease-data.php

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย.(2557) แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : หจก.อรุณการพิมพ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2559,จาก: http://203.157. 102.136/hdc/reports/ page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

โรงพยาบาลชัยภูมิ.( 2558) . คู่มือปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลชัยภูมิและเครือข่ายปฐมภูมิ. เอกสารอัดสำเนา.

กรมการแพทย์ สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2555). แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

หทัยรัตน์ นาคนาม.(2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 2558;18(3):44-51.

อารีย์ นิสภนันต์. (2554). เปรียบเทียบประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานระหว่างการรับบริการที่คลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลสตึกและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 2556;28(1):43-52.

อนงค์ หาญสกุล, ธวัชชัย ทองนำ. (2555). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแก อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2555;25 (ฉบับพิเศษ):243-52.

กรรณิการ์ เชิงยุทธ, นงนุช โอบะ และธนกรณ์ ลักษณ์สมยา.(2555). ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2555;6(2).110-21.

ราม รังสินธุ์และคณะ.(2555). การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจาปี 2555. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2559,จาก http://www.nhso.go.th/ downloadfile/fund/CRCN_55/1.Presentation/1 .

พนม สุขจันทร์, ยุพเยาว์ เอื้ออารยาภรณ์.(2554). ความครอบคลุมและคุณภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสงขลา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2556;5(3):25-36.

ปกาสิต โอวาทกานนท์. (2554). ผลการดูแลรักษาเบาหวานและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลทรายมูล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 2554; 26(4):339-49.

สมหวัง ซ้อนงาม และคณะ(2556). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่มีผล HbA1C มากกว่า 7 ของอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. ค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2559,จาก: http://www.plkhealth. go.th/ncd/ index.php

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-31

เวอร์ชัน