ผลของการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) ในการบริหารงานรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลมุกดาหาร
คำสำคัญ:
การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์, งานรักษาความปลอดภัย, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานรักษาความปลอดภัยโรงพยาบาลมุกดาหารและเปรียบเทียบผลการบริหารงานก่อนและหลังจากการนำแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) มาใช้ในการบริหารงานรักษาความปลอดภัย โรงพยาบาลมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นตัวแทนบุคลากรทุกแผนก และผู้รับบริการโรงพยาบาล มุกดาหาร โดยการเลือกแบบบังเอิญ จำนวน 111 คน (ก่อนการใช้ไลน์) และจำนวน 123 คน (หลังการใช้ไลน์) และพนักงานรักษาความปลอดภัย จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความพึงพอใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบความเชื่อมั่น โดยวิธีอัลฟาของครอน-บาค (Cronbach’alpha coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.893 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ถึง 30 กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานได้แก่ Independent t-test และ Paired t-test
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนและหลังการนำแอพพลิเคชั่นไลน์มาใช้บริหารงานรักษาความปลอดภัยทำให้ ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานรักษาความปลอดภัย จาก 3.48 ระดับปานกลาง เพิ่มขึ้นเป็น 3.88 ระดับมาก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และสำหรับตัวพนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการรักษาความปลอดภัย และเป็นผู้รับการบริหารงานจากผู้บังคับบัญชาทั้งก่อนและหลังการนำแอพลิเคชั่นไลน์ (LINE) มาใช้ มีความพึงพอใจต่อการบริหารงาน ก่อนใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ 3.25 ระดับปานกลาง และหลังจากใช้แอพพลิเคชั่นไลน์บริหารงาน รปภ. มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นเป็น 4.91 ระดับมาก เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การบริหารงานควรมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกับการบริหารงานแบบเดิมที่ใช้กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนารูปแบบการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ การให้บริการ การอำนวยความสะดวก และสนองต่อความต้องการของประชาชนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจและมีความสุข
เอกสารอ้างอิง
จักรกริช ปิยะ. การศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เพื่อการบริหารงานก่อสร้าง กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทคโนบิวเดอร์ (2001) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2557.
จงจิต หงษ์เจริญ. ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลบนหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย โรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าอิสระ. สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550.
นินุช บุญยฤทธานนท์. ผลลัพธ์การนำแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาใช้ในการปฏิรูประบบราชการของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551.
เถลิงศักดิ์ อินทรสร, นุชนรา รัตนศิระประภา. แรงจูงใจกับการปฏิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 2555; 2(2):255-62.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-09-01 (2)
- 2019-07-30 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.