ปัจจัยผู้ดูแลกับการรอดชีวิตผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
ปัจจัยคุณลักษณะผู้ดูแล, ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก, การรอดชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะผู้ดูแลที่มีผลต่อการอยู่รอดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยคาดหมายว่าจะทราบปัจจัยคุณลักษณะผู้ดูแลที่พบในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาตครึ่งซีกในกลุ่มที่มีการรอดชีวิต กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง ติดตามศึกษาในผู้ป่วยที่รอดชีวิตในระยะเวลาติดตาม 6 เดือน เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดของผู้ดูแลโดยใช้ค่าคำนวณ Chi-square
ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 64 ราย พบว่าปัจจัยคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญที่พบในผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีการรอดชีวิตได้นานเกิน 6 เดือน ได้แก่ ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเป็นบุตรหลาน มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มีสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยแบบรักใคร่ผูกผัน สนิทสนมกันมาก ส่วนใหญ่มีการคอยช่วยเหลือสนับสนุนจากครอบครัว ผู้ดูแลไม่มีโรคประจำตัว ใช้ระยะเวลาดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไปและจากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ลักษณะ การอ่อนแรงด้านเดียวมีความสัมพันธ์กับระยะ เวลาการดูแลต่อวันโดยใช้เวลาน้อยกว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของทั้งสองข้าง ผู้ดูแลที่สามารถมีเวลาหยุดพักได้ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปจะมีความสัมพันธ์กับผู้ดูแลที่ใช้ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และในด้านการได้รับความรู้คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยมาก่อนไม่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย
ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะทีมบุคลากรสุขภาพควรให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณลักษณะของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มีการวางแผนการดูแลให้สอดคล้องกับปัจจัยที่สำคัญโดยเฉพาะปัจจัยที่สามารถสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนได้ เช่น สัมพันธภาพ การช่วยเหลือสนับสนุนในครอบครัว การสร้างเสริมสุขภาพผู้ดูแลให้แข็งแรง และการจัดให้มีระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสมจะสามารถช่วยให้การดูแลผู้ป่วยอัมพาตมีผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Phipps, M.A. Assement of neurological deficit in stroke. Nursing Clinics of North America, 1991; 26: 957-70.
บัณฑิต ถิ่นคำรพ. แนวปฏิบัติสำหรับการวิเคราะห์ระยะปลอดเหตุการณ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.
สุพล ลิมวัฒนานนท์. คู่มือการวิเคราะห์อัตราตายมาตรฐานโรงพยาบาล อัตราตายที่ปรับด้วยความเสี่ยง อัตรารอดชีพ. นนทบุรี: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, 2554.
วินิตา บุญช่วย. ศักยภาพในการดูแลและปัจจัยพื้นฐานของผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2547.
สุดศิริ หิรัญชุณหะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.
เฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.
ศุภวรรณ มโนสุนทร. รายงานการพยากรณ์โรคหลอดเลือดสมอง. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, 2556.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-09-02 (2)
- 2019-08-01 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.