This is an outdated version published on 2019-08-01. Read the most recent version.

ปัจจัยผู้ดูแลกับการรอดชีวิตผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง : Effect of Factors in Caregiver to Post Stroke Survivors with Hemiplegia

ผู้แต่ง

  • Malika Yokasingha

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะผู้ดูแลที่มีผลต่อการอยู่รอดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยคาดหมายว่าจะทราบปัจจัยคุณลักษณะผู้ดูแลที่พบในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคอัมพาตครึ่งซีกในกลุ่มที่มีการรอดชีวิต  กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง ติดตามศึกษาในผู้ป่วยที่รอดชีวิตในระยะเวลาติดตาม 6 เดือน เลือกกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ ใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมดของผู้ดูแลโดยใช้ค่าคำนวณ Chi-square  

ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 64 ราย พบว่าปัจจัยคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญที่พบในผู้ดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกที่มีการรอดชีวิตได้นานเกิน 6 เดือน ได้แก่ ผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเป็นบุตรหลาน มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป มีสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยแบบรักใคร่ผูกผัน สนิทสนมกันมาก ส่วนใหญ่มีการคอยช่วยเหลือสนับสนุนจากครอบครัว ผู้ดูแลไม่มีโรคประจำตัว ใช้ระยะเวลาดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไปและจากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า ลักษณะ การอ่อนแรงด้านเดียวมีความสัมพันธ์กับระยะ เวลาการดูแลต่อวันโดยใช้เวลาน้อยกว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของทั้งสองข้าง ผู้ดูแลที่สามารถมีเวลาหยุดพักได้ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไปจะมีความสัมพันธ์กับผู้ดูแลที่ใช้ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน และในด้านการได้รับความรู้คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยมาก่อนไม่มีความสัมพันธ์ต่อระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย

ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะทีมบุคลากรสุขภาพควรให้ความสำคัญกับปัจจัยคุณลักษณะของผู้ดูแลในการดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มีการวางแผนการดูแลให้สอดคล้องกับปัจจัยที่สำคัญโดยเฉพาะปัจจัยที่สามารถสร้างเสริมและปรับเปลี่ยนได้ เช่น สัมพันธภาพ การช่วยเหลือสนับสนุนในครอบครัว การสร้างเสริมสุขภาพผู้ดูแลให้แข็งแรง และการจัดให้มีระยะเวลาการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสมจะสามารถช่วยให้การดูแลผู้ป่วยอัมพาตมีผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น

 

Abstract

              The purpose of this research was to study the factors of caregiver feature that affects the survival of patients with hemiplegia. Caused by a stroke after discharge from hospital. Expect to know the factors attendant feature found in the care of patients with hemiplegia have survived. This study was a descriptive research. The data were collected in the month of June 2559 to July 2559, using a questionnaire to gather information. Targets Caregivers hemiplegia caused by stroke. In follow-up study of patients who survived the follow-up period of 6 months from the start of illness from a stroke. Target by specific criteria. Data were analyzed by frequency, percentage, average and standard deviation for patterns and relationships between all variables of administrators calculated using the Chi-square.

                The results found that : The samples from all 64 patients showed that the basic features that are found in patients with hemiplegia has survived for more than six months and who are mostly female and are closely related. Care giver aged 45 years and over, with the relationship between caregiver and patient, affectionate diversion. Camaraderie more With the help of family support. Take care of patients less than 12 hours per day. And levels of education, from primary level upwards. The study found that relationship. Characterized by one-sided weakness is related to the duration of care per day by spending less time caring for patients with signs of weakness on both sides. Caregivers can take a break from two days up to a relationship with the caregiver takes care of patients less than 6 hours per day. And in obtaining the knowledge, advice, patient care before, no relation to the timing of patient care.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01

เวอร์ชัน