การพัฒนาชุดตรวจคุณภาพการตรวจวินิจฉัยเชื้อ Mycobacterium ที่รวดเร็วด้านอณูชีววิทยา

ผู้แต่ง

  • ชนัฎตรี ก๋ำดี สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • ธนิดา เหรียญทอง สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • สมศักดิ์ เหรียญทอง สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การควบคุมคุณภาพภายนอก, วิธีอณูชีววิทยา, เชื้อวัณโรค

บทคัดย่อ

วัณโรคเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 22 ประเทศที่มีการระบาดของวัณโรคสูง และปัจจุบันวัณโรคที่ดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) เป็นภาระหนักที่กำลังขยายตัวออกไปเพิ่มขึ้น จำเป็นที่จะต้องพัฒนาและสนับสนุนเทคโนโลยีและกลยุทธ์ใหม่ที่จะช่วยให้เพิ่มความสามารถของโปรแกรมการป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษา เริ่มมีการตรวจวัณโรคด้วยวิธีอณูชีววิทยาเพิ่มมากขึ้นโดยผลตรวจจากห้องปฏิบัติการที่มีคุณภาพจะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย การประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการโดยองค์กรภายนอกจึงเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญของระบบประกันคุณภาพ เพื่อให้ผลตรวจมีความถูกต้อง แม่นยำ ตามมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นมาตรฐานสากลเดียวกัน อย่างไรก็ตามการควบคุมคุณภาพภายนอกสำหรับการตรวจด้วยเทคนิคนี้ยังไม่มีหน่วยงานที่เปิดให้บริการในประเทศ ดังนั้นกลุ่มปฏิบัติการอ้างอิงชันสูตรวัณโรคแห่งชาติจึงได้เริ่มการพัฒนาชุดตรวจคุณภาพการตรวจวินิจฉัยเชื้อ Mycobacterium ที่รวดเร็วด้วยวิธีอณูชีววิทยาเพื่อใช้ในโครงการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการด้านการตรวจหาเชื้อวัณโรคด้วยวิธีอณูชีววิทยาโดยใช้วิธี Dry Tube Culture Spot (DCS) ปริมาณเชื้อที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมตัวอย่างชุดตรวจคุณภาพ คือ เชื้อที่ความเข้มข้นเทียบเท่ากับ Macfarland No.1 หรือปริมาณเชื้อเท่ากับ 10(7) เซล/มิลลิลิตร จำนวน 0.1 มิลลิลิตร และการเตรียมเชื้อในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการส่งตรวจโดยเตรียมตัวอย่าง 5 ตัวอย่าง ๆ ละ 100 หลอด แล้วสุ่มมาทดสอบร้อยละ12 รวมตัวอย่างทั้งหมด 60 ตัวอย่าง แบ่งตัวอย่างออกเป็น 2 ส่วนเพื่อทดสอบด้วยเทคนิค Line Probe Assay: Genotype (HAIN test) และ Xpert MTB/RIF อย่างละ 30 ตัวอย่าง ให้ผลตรงกับเชื้อมาตรฐานร้อยละ 100 และ ร้อยละ 97 ตามลำดับ

เอกสารอ้างอิง

สำนักวัณโรค. แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนัก, 2556.

สำนักวัณโรค. แนวทางการบริหารจัดการผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา. กรุงเทพฯ: สำนัก, 2558.

Association of Public Health Laboratory. External Quality Assessment for AFB Smear Microscopy. Washington, DC, 2002.

สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย. หนังสือที่ระลึกครบรอบ 60 ปี สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. [กรุงเทพฯ]: สมาคม, 2538.

บันทึกข้อความ กลุ่มปฏิบัติการอ้างอิงชันสูตรวัณโรคแห่งชาติ สำนักวัณโรค ที่ สธ 0438.6/330 วันที่ 14 กันยายน 2558 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ใช้ตัวอย่างเชื้อจากคลังสายพันธ์อ้างอิงเชื้อวัณโรค สำนักวัณโรค.

ธนิดา เหรียญทอง. มาตรฐานการปฏิบัติงานการทดสอบความไวต่อยาของเชื้อวัณโรค. กลุ่มห้องปฏิบัติการอ้างอิงวัณโรค สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางสัมพันธ์, 2548.

ธนิดา เหรียญทอง. การตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วเพื่อบ่งชี้ลักษณะการเริ่มแสดงออกของการดื้อต่อยาไรแฟมพิซินและไอโซไนอะซิดของเชื้อวัณโรค, กรุงเทพฯ: สำนักวัณโรค, 2551.

L. E. Scott, N. Gous, B. E. Cunningham, B. D. Kana, O. Perovic, L. Erasmus, et al. Dried Culture Spots for Xpert MTB/RIF External Quality Assessment: Results of a Phase 1 Pilot Study in South Africa. Journal of Clinical Microbiology, 2011:49(12); 4356–60.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-02

เวอร์ชัน