ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii ในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • มาลีทิพย์ อาชีวกุลมาศ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์ พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • วรรณวณัช วรรธนะมณีกุล พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ศันสนีย์ ชัยบุตร พยาบาลควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • ฐานันดร์ ฐานวิเศษ อายุรแพทย์ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, เชื้อดื้อยา, Acinatobacter baumannii, การติดเชื้อในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii  ในโรงพยาบาล

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii  โดยศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลชัยภูมิระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา A. baumannii ในโรงพยาบาลจำนวน 60 คน และกลุ่มควบคุมคือ ผู้ป่วยที่ไม่มีการติดเชื้อในโรงพยาบาลจำนวน 120 คนจับคู่ 1:2 ด้วยหอผู้ป่วยและอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปผู้ป่วย และข้อมูลการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบทีไควสแควร์ และการถดถอยพหุโลจิสติก 

ผลการศึกษา: อายุเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 65.9 ± 15.7 ปี และในกลุ่มควบคุม 59.5 ± 18.2 ปี ระยะนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยในกลุ่มศึกษา 36.4 ± 23.6 วัน และในกลุ่มควบคุม 5.2 ± 9.9 วัน ผลการวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อน พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii ในโรงพยาบาล ได้แก่ การใส่สายสวนปัสสาวะมากกว่า 1 สัปดาห์ (OR=15.45, 95%CI = 3.47-76.41, p < .001) การใส่เครื่องช่วยหายใจมากกว่า 1 สัปดาห์ (OR= 5.33, 95%CI = 2.67-26.01, p = .002) การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกมากกว่า 1 สัปดาห์ (OR=10.58, 95%CI = 1.97-64.72, p < .001) และการรักษาด้วยยากลุ่มเซฟาโลสปอรินส์ (OR=3.53, 95%CI =1.54-8.07, p < .001) ยากลุ่มคาร์บาพีเนมส์ (OR= 5.64, 95%CI = 3.21-18.19, p < .001) ยากลุ่มควิโนโลน (OR= 4.16, 95%CI = 1.59-32.05, p = .017) และยากลุ่มลินโคซาไมด์ (OR= 3.52, 95%CI = 1.46- 20.86, p = .016) 

อภิปรายผล: การศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยา A. baumannii ในโรงพยาบาล มีหลายปัจจัยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการสอดใส่อุปกรณ์เข้าร่างกายและได้รับยาต้านจุลชีพบางขนาน ควรมีการส่งเสริมการใช้มาตรการการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงอย่างเข้มงวด

เอกสารอ้างอิง

Maragakis, LL., & Perl, TM. Acinetobacter baumannii: epidemiology, antimicrobial resistance, and treatment options. Clinical infectious diseases, 2008; 46(8): 1254-63.

กัลยาณี ศุระศรางค์. ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยา Acinetobacter baumannii ในโรงพยาบาลศิริราช. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549.

Chopra, T., Marchaim, D., Awali, RA., Krishna, A., Johnson, P., Tansek, R.,…[et al.]. Epidemiology of bloodstream infections caused by Acinetobacter baumannii and impact of drug resistance to both carbapenems and ampicillin-sulbactam on clinical outcomes. Antimicrobial agents and chemotherapy, 2013; 57(12); 6270-75.

Hernandez-Torres, A., García-Vazquez, E., Gomez, J., Canteras, M., Ruiz, J., & Yague, G. Multidrug and carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii infections: factors associated with mortality. Medicina clínica, 2012; 138(15): 650-5.

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center Thailand [NARST]. [homepage on the Internet]. [cited 2015 Sep 29]. Available from:http://narst.dmsc.moph.go.th/whonetmeeting/2.pdf

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กลุ่มงานการพยาบาลด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ. โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2557.

Abbo, A., Carmeli, Y., Navon-Venezia, S., Siegman-Igra, Y., and Schwaber, MJ. Impact of multi-drug-resistant Acinetobacter baumannii on clinical outcomes. European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases, 2007; 26(11): 793-800.

Playford, E. G., Craig, J. C., & Iredell, J. R. Carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii in intensive care unit patients: risk factors for acquisition, infection and their consequences. Journal of Hospital Infection, 2007; 65(3): 204-11.

นันทิพัฒน์ พัฒนโชติ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, และชินวัตร ศรีใส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อดื้อยาหลายขนานของเชื้อ Acinetobacter baumannii ในผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่, 2555; 5(1): 87-96.

Jung, JY., Park, MS., Kim, SE., Park, BH., Son, JY., Kim, EY., ...[et al.]. Risk factors for multi-drug resistant Acinetobacter baumannii bacteremia in patients with colonization in the intensive care unit. BMC infectious diseases, 2010; 10: 228.

Kim, SY., Jung, JY., Kang, Y., Lim, JE., Kim, EY., Lee, SK., ... [et al.]. Risk factors for occurrence and 30-day mortality for carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii bacteremia in an intensive care unit. Journal of Korean medical science, 2012; 27(8): 939-47.

Baran, G., Erbay, A., Bodur, H., Onguru, P., Akıncı, E., Balaban, N.,...[et al.]. Risk factors for nosocomial imipenem-resistant Acinetobacter baumannii infections. International Journal of Infectious Diseases, 2008; 12(1): 16-21.

Aydemir, H., Celebi, G., Piskin, N., Oztoprak, N., Keskin, A. S., Aktas, E., …[et al.]. Mortality attributable to carbapenem-resistant nosocomial Acinetobacter baumannii Infections in a Turkish University Hospital. Japanese journal of infectious diseases, 2012; 65(1): 66-71.

Su, CH., Wang, JT., Hsiung, CA., Chien, LJ., Chi, CL., Yu, HT., ...[et al.]. Increase of carbapenem-resistant Acinetobacter baumannii infection in acute care hospitals in Taiwan: association with hospital antimicrobial usage. PLoS One, 2012; 7(5): e37788.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-02

เวอร์ชัน