ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ : Prevalence and Risk Factors for Gestational Diabetes Mellitus, Chaiyaphum Hospital
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะเบาหวานที่เกิดขึ้นและวินิจฉัยได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ การคัดกรองเบาหวานจึงควรได้รับการประเมินตั้งแต่การมาฝากครรภ์ครั้งแรก การวินิจฉัยเชิงพรรณาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2557 กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และได้รับการตรวจคัดกรองก่อนอายุครรภ์ไม่เกิน 34 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยจัดทำทะเบียนบันทึกข้อมูลของกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองด้วยวิธี 50-gram glucose screening test (50g GST) จำนวน 476 ราย ถ้าผลการคัดกรองผิดปกติจะได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยวิธี 100-gram oral glucose tolerance test (100g OGTT) ถ้าผลตรวจผิดปกติสองค่าขึ้นไปจะได้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานทั้งหมด 3,802 ราย พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงและ ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี 50g GST จำนวน 476 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.51 ของสตรีตั้งครรภ์ที่คัดกรอง พบความชุกโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 57 ราย คิดเป็น (ร้อยละ 11.97) ของสตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง และคิดเป็น (ร้อยละ 1.50) ของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานทั้งหมด โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิด A1 คิดเป็น (ร้อยละ 75.44) และพบชนิด A2 เพียง (ร้อยละ 24.56) ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวาน (ร้อยละ 40.37) อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 31.19) และดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ตั้งแต่ 27 ขึ้นไป (ร้อยละ 22.80) ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบความชุกของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง จึงควรมีการค้นหาปัจจัยเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วที่สุดซึ่งจะส่งผลให้การตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Abstract
Gestational diabetes mellitus (GMD) is a cindition that develops and is diagnosed during pregnancy. The impact of GDM affacts both mother and fetus. Risk assessment for GDM should be undertaken at the first prenatal visit. The purpose of the retrospective descriptive study was to determine the prevalance and risk factors of gestational diabetes mellitus at Chaiyaphum Hospital during October 1, 2012 to September 30, 2014. The study population included 476 pregnant women who were attending Antenatal Care Clinic, Chaiyaphum Hospital and screened with 50 GST. If the 50g GST levels became abnormal as a result of plasma glucose, the prenant women then underwent to the 100g OGTT. GDM was defined at least two abnormal plasma glucose measurement during the 100g OGTT. Data were analyzed using descriptive statistics.
Results revealed that 3,802 pregnant women were screened for gestational diabetes and 476 cases (12.51%) were identified as being at risk and were given with 50g GST. The prevalence of GDM was 57 cases (11.97% of high risk pregnancy and 1.50% of all pregnant women) Majority of the women were GDM class A1 (43 cases, 75.44%) and only fourteen cases (24.56%) were GDM class A2. Risk factor for GDM were family history of mellitus (40.37%), age ≥35 years (31.19%) and BMI before pregnancy ≥27 (22.80%) respectively.
The results of this study indicate a high incidence of GDM in our area. We recommend screening for GDM in all pregnant women to facilitate early diagnosis which is associated with improved pregnancy outcome.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-09-02 (2)
- 2019-07-30 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.