ความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • มยุรี ประเสริฐกุล ห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง, เบาหวานขณะตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะเบาหวานที่เกิดขึ้นและวินิจฉัยได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ การคัดกรองเบาหวานจึงควรได้รับการประเมินตั้งแต่การมาฝากครรภ์ครั้งแรก การวินิจฉัยเชิงพรรณาแบบย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรงพยาบาลชัยภูมิ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2557 กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และได้รับการตรวจคัดกรองก่อนอายุครรภ์ไม่เกิน 34 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยจัดทำทะเบียนบันทึกข้อมูลของกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองด้วยวิธี 50-gram glucose screening test (50g GST) จำนวน 476 ราย ถ้าผลการคัดกรองผิดปกติจะได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยวิธี 100-gram oral glucose tolerance test (100g OGTT) ถ้าผลตรวจผิดปกติสองค่าขึ้นไปจะได้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า สตรีตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานทั้งหมด 3,802 ราย พบว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงและ ได้รับการตรวจคัดกรองด้วยวิธี 50g GST จำนวน 476 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.51 ของสตรีตั้งครรภ์ที่คัดกรอง พบความชุกโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ 57 ราย คิดเป็น (ร้อยละ 11.97) ของสตรีตั้งครรภ์กลุ่มเสี่ยง และคิดเป็น (ร้อยละ 1.50) ของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานทั้งหมด โดยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเบาหวานชนิด A1 คิดเป็น (ร้อยละ 75.44) และพบชนิด A2 เพียง (ร้อยละ 24.56) ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ประวัติในครอบครัวเป็นเบาหวาน (ร้อยละ 40.37) อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (ร้อยละ 31.19) และดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ตั้งแต่ 27 ขึ้นไป (ร้อยละ 22.80) ตามลำดับ

ผลการศึกษาพบความชุกของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง จึงควรมีการค้นหาปัจจัยเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วที่สุดซึ่งจะส่งผลให้การตั้งครรภ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

Ferrara A. Increasing Prevalence of Gestational Diabetes Mellitus a public health perspective. Diabetes Care, 2007 ; 30(Supplement 2):S141-S146.

วิฑูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. Medical Complication in Elderly Gravida. ขอนแก่น : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล. แนวทางการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550.

กนกพร นทีธนสมบัติ. การดูแลสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555; 20(3):14-21.

ประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล และดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. แนวทางการดูแลรักษาโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2550.

จรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์, เด่นศักดิ์ พงศ์โรจน์เผ่า และอธิตา จันทรเสนานนท์. ผลของปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกันต่อผลการตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 2550; 7(3):199-204.

วิฑูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. Medical Complication in Elderly Gravida. ขอนแก่น : ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

Dittakarn Boriboonhirunsarn, Talungjit P, Sunsaneevithayakul P. Adverse pregnancy outcomes in gestational diabetes mellitus. Journal of Medical Associated of Thailand, 2006; 89(4):S23-8.

สมบุญ จันทร์พิริยะพร. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารแพทย์เขต, 2550; 26(1):6-7.

พุทธวรรณ ทีฆสกุล. ความชุกของภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ก่อน 24 สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพมหานคร. วชิรเวชสาร, 2549; 50(2):87-93.

Yuan J, Cong L, Pan FM. Risk factors of gestational diabetes mellitus. Maternal and Child Health Care of China, 2007; 33:4659-61.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-02

เวอร์ชัน