This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

ความรู้และการจัดการลดไข้ของผู้ปกครองเมื่อเด็กมีภาวะไข้ : Parental Knowledge and Childhood Fever Management

ผู้แต่ง

  • Piengpen Dejporn

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการจัดการลดไข้ของผู้ปกครองของเด็กป่วยที่มีภาวะไข้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเด็กป่วยที่มีไข้ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย เด็ก1 โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) ได้เท่ากับ 0.92 และ 0.90  เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2558 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพทําการพรรณาความ

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้ที่ถูกต้องในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 86.25 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 11.81 (S.D = 1.48 คะแนนเต็ม 15) ส่วนความรู้ที่ไม่ถูกต้อง คือ กลุ่มตัวอย่างคิดว่าเมื่อเด็กมีไข้ วิธีที่ดีที่สุดที่ควรปฏิบัติคือการให้ยาลดไข้ คิดเป็นร้อยละ 70 ส่วนการจัดการของผู้ปกครองเด็กเมื่อเด็กมีภาวะไข้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ77.50โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 (S.D. = .46 ) โดยปัญหาที่ผู้ปกครองไม่เช็ดตัวเด็ก เนื่องจากคิดว่าเป็นการรบกวนเด็กและไม่ทราบวิธีการเช็ดตัวที่ถูกต้อง

          ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าควรมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองในการจัดการลดไข้ และการให้ยาลดไข้อย่างเหมาะสม 

 

Abstract

          This descriptive study is aimed to explore parents’ knowledge and management of childhood fever. The study sample included 80 parents of children who were admitted in Children Ward 1, Chaiyaphum Hospital. The research instrument was a questionnaire with an in-depth interview format. The instrument was developed; construct and content validity were determined by an expert panel. The content validity indexes of knowledge and fever management questions were 0.92 and 0.90 respectively. Data were collected during May 1, to June 30, 2015. The collected data were analyzed by the use of frequency distribution, percentage, means, standard deviation and descriptive content interpretation.

          Research findings revealed that majority of the parents’ knowledge of childhood fever was good (mean 11.8, SD = 1.48 on 15 items). Some unknowledgeable parents gave the antipyretic drug as first choice for children (70%). Sixty two parents (77.50%) managed childhood fever well at a high level (mean 4.10, SD = .46). Parents due to lack of knowledge and experience did not perform tepid sponge down.

          The results of this study indicate that parents need consistent evidence-based information about childhood fever management and the use of antipyretics was justified.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30

เวอร์ชัน