ความรู้และการจัดการลดไข้ของผู้ปกครองเมื่อเด็กมีภาวะไข้

ผู้แต่ง

  • เพียงเพ็ญ เดชพร หอผู้ป่วยเด็ก1 โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ความรู้, การจัดการ, ผู้ปกครอง, เด็กมีภาวะไข้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และการจัดการลดไข้ของผู้ปกครองของเด็กป่วยที่มีภาวะไข้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเด็กป่วยที่มีไข้ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย เด็ก1 โรงพยาบาลชัยภูมิ โดยเลือกแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) ได้เท่ากับ 0.92 และ 0.90  เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2558 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพทําการพรรณาความ

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ในการดูแลเด็กที่มีภาวะไข้ที่ถูกต้องในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 86.25 โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 11.81 (S.D = 1.48 คะแนนเต็ม 15) ส่วนความรู้ที่ไม่ถูกต้อง คือ กลุ่มตัวอย่างคิดว่าเมื่อเด็กมีไข้ วิธีที่ดีที่สุดที่ควรปฏิบัติคือการให้ยาลดไข้ คิดเป็นร้อยละ 70 ส่วนการจัดการของผู้ปกครองเด็กเมื่อเด็กมีภาวะไข้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสมมาก คิดเป็นร้อยละ77.50โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 (S.D. = .46 ) โดยปัญหาที่ผู้ปกครองไม่เช็ดตัวเด็ก เนื่องจากคิดว่าเป็นการรบกวนเด็กและไม่ทราบวิธีการเช็ดตัวที่ถูกต้อง

ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่าควรมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครองในการจัดการลดไข้ และการให้ยาลดไข้อย่างเหมาะสม 

 

เอกสารอ้างอิง

Crocetti M, Moghbeli N, Serwint J. Fever phobia revisited: have parental misconceptions about fever changed in 20 years?. Pediatrics, 2001; 107(6): 1241-46.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็กเล่ม 1. นนทบุรี: ยุทธรินทร์การพิมพ์, 2550.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. รายงานประจำปีหอผู้ป่วยเด็ก 1. ชัยภูมิ: หอผู้ป่วยเด็ก 1 โรงพยาบาลชัยภูมิ, 2557.

Sullivan JE, Farrar H C. Fever and antipyretic use in children. Pediatrics, 2011; 127 (3): 580-7.

Walsh AM, Edwards HE, Fraser JA. Influences on Parents’ fever management: Beliefs, experiences and information sources. Journal of Clinical Nursing, 2007; 16(12): 2331-40.

ศุภิศา ลี้มิ่งสวัสดิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการของบิดามารดาเมื่อเด็กมีภาวะไข้. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเด็ก, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2555.

Arica SG, Arica V, Onur H, Gülbayzar S, Dag H, Obut O. Knowledge, attitude and response of mothers about fever in their children. Emergency Medicine Journal, 2012; 29(12): e4.

อรัญญา ไทยแท้. พฤติกรรมสุขภาพของมารดาเกี่ยวกับการใช้ยาลดไข้ในบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปี โรงพยาบาลเด็ก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิชาเอกสุขศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2539.

นฤมล คชนี. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานบางประการ ความสามารถในการดูแลบุตรที่มีไข้สูงและพฤติกรรมการดูแลบุตรที่มีไข้สูงของมารดาเด็กอายุ 3 เดือนถึง 6 ปี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลเด็ก,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-02

เวอร์ชัน