This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

การประเมินประสิทธิผลในการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบของพยาบาล ก่อนและหลัง การใช้แนวปฏิบัติ : Evaluation of nursing care for Multiple trauma before and after clinical practice guideline.

ผู้แต่ง

  • Rukroong Danpakdee

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลในการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุ ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ โดยผู้ใช้แนวปฏิบัติคือ พยาบาลผู้ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จำนวน 17 คน รวบรวมข้อมูลระหว่าง กุมภาพันธ์ 2558– กรกฎาคม 2558 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป และแนวปฏิบัติการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบ ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired Sample t-test

          ผลการวิจัยพบว่าแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นมีทั้งหมด 7 หมวด โดยพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติร้อยละ 100สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ 4 หมวด ในเรื่องของ 1) Vital Signs 2) Airway 3) Breathing 4) Disability การประเมินประสิทธิผลในการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติ พบว่าหลังใช้แนวปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนค่าเฉลี่ยหลังการใช้แนวทางปฏิบัติสูงกว่าก่อนการใช้แนวทางปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นแนวปฏิบัตินี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินสภาพแรกรับของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบได้

          ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ควรมีการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ในการดูแลผู้บาดเจ็บหลายระบบและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก อย่างต่อเนื่องและควรมีการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหลายระบบ

 

Abstract

          Material and Method: The purpose of this descriptive was to develop and evaluate a clinical practice guideline for initial assessment  among multiple trauma patients admitted trauma care units ,Chaiyaphum Hospital. The target Subjects who implement were 17 nurses working in the trauma care units . Data were collected during February and July 2515. The instruments for data collection included the recordable evaluation form,  consists of two parts were general information and the clinical practice guidelines which were developed and the content validity was tested by experts. Data were  analyzed by using descriptive statistics and paired sample t-test.

          Results: The results showed that contents of this developed clinical practice guideline of  7 dimensions. One hundred percent of nurses described that 5 dimensions of this clinical practice guideline were feasible for implementing into practice, 1) Vital Signs 2) Airway 3) Breathing 4) Disability.  After to used of a clinical practice guideline  nurses compliance to the clinical practice guidelines were higher than before (p < .05) in all activities.

          Conclusion: Based on the research the promoting to used of a clinical practice guideline for casualty care systems were suggested and evaluation of the practice continued. And there should be a study of   factors   affecting   the survival of the multiple trauma.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30

เวอร์ชัน