This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร : Prevalence and Factors Associated with Depression among Type 2 Diabetic Patients in Konsarn Hospital

ผู้แต่ง

  • Suppapong Chaimongkol

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          ความเป็นมา ภาวะซึมเศร้าพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จำเป็นต้องให้การวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น        

          วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร

          วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (observational descriptive study) ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เลือกแบบสุ่มจากผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน อายุ 40 ปีขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ภาษาอีสานเป็นเครื่องมือการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าด้วย Logistic regression analysis

          ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 340 รายพบมากที่สุดเป็นเพศหญิงร้อยละ 80 อายุเฉลี่ย 60 ปี พบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 16.18% (n=55) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ (Odds ratio [OR] = 5.51, 95% confidence interval [CI] = 1.34-22.74) เป็นโรคเบาหวาน 11 ปีขึ้นไป (OR = 1.86, 95%CI = 1.04-3.32) การมีโรคร่วมทางกาย 2 โรคขึ้นไป (OR = 2.45, 95%CI = 1.31-4.59) เป็น diabetic retinopathy (OR =2.46 , 95%CI = 1.29-4.69), เป็น diabetic nephropathy (OR = 4.15, 95%CI = 2.27-7.58) ใช้ยาฉีดเบาหวาน (OR = 2.58, 95%CI = 1.44-4.64) ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (OR = 2.56, 95%CI = 1.20-5.44) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดผิดปกติ (OR = 2.11, 95%CI = 1.02-4.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

          สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสารมีความชุกของภาวะซึมเศร้าระดับสูง จึงควรมีการติดตามและประเมินโรคซึมเศร้าอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความไม่พอเพียงของรายได้ เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป มีโรคร่วมทางกายตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป ที่ใช้ยาฉีดเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี มีภาวะแทรกซ้อนทางตา หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางไต

 

Abstract

          Background: Depression is a frequent comorbidity found in type 2 diabetic patients. Depression in diabetic patients commonly associated with treatment nonadherence; and therefore, resulting in poor glycemic control and subsequent medical complications. Early diagnosis of depression and appropriate management in diabetic patients are necessary in order to improve their health and quality of life.

          Objectives: To determine the prevalence of depression and its associated factors among the patients with type 2 diabetes in Kornsan hospital.

          Method: A prospective observational study was conducted, during May 2015 and August 2015, in Kornsan hospital. Type 2 diabetic patients with age over 40 were recruited from diabetic clinic. The data was collected by interviewing these patients and using the nine-question depression questionnaire. Logistic regression analysis was used to analyze the associated factors of depression.

          Result:  A total of 340 type 2 diabetic patients were included into this study. 80% were female and the average patient age was 60 years. The prevalence of depression was 16.18% (n=55) and logistic regression analysis revealed that insufficiency of income (Odds ratio [OR] = 5.51, 95% confidence interval [CI] = 1.34-22.74), duration of diabetes ≥ 11 years (OR = 1.86, 95%CI = 1.04-3.32), comorbidities ≥ 2 diseases (OR = 2.45, 95%CI = 1.31-4.59), presence of diabetic retinopathy (OR =2.46, 95%CI = 1.29-4.69), presence of diabetic nephropathy (OR = 4.15, 95%CI = 2.27-7.58), insulin use (OR = 2.58, 95%CI = 1.44-4.64) abnormal fasting blood sugar level (OR = 2.56, 95%CI = 1.20-5.44), and abnormal hemoglobin A1c level (OR = 2.11, 95%CI = 1.02-4.38) were the independent associated factors of depression in type 2 diabetic patients.

          Conclusion: The prevalence of depression among type 2 diabetic patients in Konsarn hospital was high as well as previous study. Routine depression screening in type 2 diabetic patients is crucial, especially in patients with insufficiency of income, having duration of diabetes ≥ 11 years, comorbidities ≥ 2 diseases, presence of diabetic retinopathy or diabetic nephropathy, use of insulin, and having abnormal fasting blood sugar level or abnormal hemoglobin A1c level.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30

เวอร์ชัน