ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร

ผู้แต่ง

  • ศุภพงศ์ ไชยมงคล โรงพยาบาลคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะซึมเศร้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

ความเป็นมา ภาวะซึมเศร้าพบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน จำเป็นต้องให้การวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น        

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร

วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (observational descriptive study) ศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสาร ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เลือกแบบสุ่มจากผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน อายุ 40 ปีขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ภาษาอีสานเป็นเครื่องมือการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าด้วย Logistic regression analysis

ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 340 รายพบมากที่สุดเป็นเพศหญิงร้อยละ 80 อายุเฉลี่ย 60 ปี พบผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 16.18% (n=55) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ความไม่เพียงพอของรายได้ (Odds ratio [OR] = 5.51, 95% confidence interval [CI] = 1.34-22.74) เป็นโรคเบาหวาน 11 ปีขึ้นไป (OR = 1.86, 95%CI = 1.04-3.32) การมีโรคร่วมทางกาย 2 โรคขึ้นไป (OR = 2.45, 95%CI = 1.31-4.59) เป็น diabetic retinopathy (OR =2.46 , 95%CI = 1.29-4.69), เป็น diabetic nephropathy (OR = 4.15, 95%CI = 2.27-7.58) ใช้ยาฉีดเบาหวาน (OR = 2.58, 95%CI = 1.44-4.64) ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารผิดปกติ (OR = 2.56, 95%CI = 1.20-5.44) และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดผิดปกติ (OR = 2.11, 95%CI = 1.02-4.38) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคอนสารมีความชุกของภาวะซึมเศร้าระดับสูง จึงควรมีการติดตามและประเมินโรคซึมเศร้าอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความไม่พอเพียงของรายได้ เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ 11 ปีขึ้นไป มีโรคร่วมทางกายตั้งแต่ 2 โรคขึ้นไป ที่ใช้ยาฉีดเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดี มีภาวะแทรกซ้อนทางตา หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางไต

 

เอกสารอ้างอิง

ฉัตรปวีณ์ จรัสวราวัฒน์. เบาหวาน: โรคที่สั่นคลอนสุขภาพคนไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2551; 38(2): 277-287.

เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม และ พรพันธุ์ บุณยรัตนพันธ์. ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2547. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2551; 1(2): 98-115.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สาระสุขภาพ Heath Fact sheet. 2554; 4: 25.

สิตานันท์ พูนผลทรัพย์. ภาวะซึมเศร้ากับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒ. 2548; 1(พฤษภาคม) ; 17-25.

พิรุณี สัพโส. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลพังโคน. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2553; 25(4): 272-279.

ศิริชัย ดาริการ์นนท์. การศึกษาอัตราความชุกของภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์. 2544; [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://mhtech.dmh.moph.go.th/lib/search/body.php?lib_id=1265

ธรณินทร์ กองสุข และคณะ. การพัฒนาและความเที่ยงตรงของแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม ภาษาอีสาน. เอกสารประกอบการสัมนา. กรุงเทพมหานคร: โรงแรมดุสิตปริ๊นซ์พาเลซ. 2551.

ศิระ เมืองไทย. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2556; 28(2): 109-120.

วิทยา พลสีลา. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลของจังหวัดบึงกาฬ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2556; 3(1): 62-17.

Gavard, J. A., Lustman, P. J, Clouse, R. E. Prevalence of depression in adults with diabetes: An epidemiological evaluation. Diabetes Care. 1993; 16: 1167-1178.

Anderson, R. J., Freedland, K. E., Clouse, R. E., & Lustman, P. J.. The prevalence of comorbid depression in adults with diabetes: A metaanalysis. Diabetes Care. 2001; 24(6): 1069-1078.

ศุภศิริ อยู่ชู, สุคนธา ศิริ, พิมสุภาว์ จันทนะโสตถิ์, มธุรส ทิพยมงคลกุล. การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติครั้งที่ 13. 2554.

จุฑารัตน์ บุญวัฒน์.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2552; 17(2): 32-47.

ธิติพันธ์ ธานีรัตน์. ความชุกของภาวะซึมเศร้า ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก คลินิกต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). 2551.

Gray, D. S., Fujioka, K., Devine, W., & Bray, G. A. (1992). Fluoxetine treatment of the obese diabetic. International Journal of Obesity & Related Metabolic Disorders, 16, 193-198.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30 — อัปเดตเมื่อ 2021-09-02

เวอร์ชัน