การเปรียบเทียบผลในการป้องกันการอาเจียนชนิดเฉียบพลัน ระหว่างการให้ยาป้องกันการอาเจียน 3 แบบ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร FAC ในโรงพยาบาลชัยภูมิ : Comparison among 3 Antiemetics in Preventing Acute Vomit Symptom of Breast Cancer Patients Treated with FAC Regimen Chemotheapy in Chaiyaphum Hospital.

ผู้แต่ง

  • Amnart Sukudom

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทีบผลในการป้องกันการอาเจียนชนิดเฉียบพลันของยาป้องกันการอาเจียน 3 กลุ่ม ได้แก่ยาเม็ทโทโคลพราไมค์ ชนิดฉีด (Metoclopramide) 10 มิลลิกรรัม, ยาออนแดนซีตรอน ชนิดฉีด (Ondansetron) 8 มิลลิกรัม และยาเด็คซะเม็ธธาโซน ชนิดฉีด (Dexamethasone) 12 มิลลิกรัม ร่วมกับยาออนแดนซีตรอน ชนิดฉีด (Ondansetron) 16 มิลลิกรัม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร FAC ในโรงพยาบาลชัยภูมิ โดยคัดเลือกจากผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 93 ราย ระหว่างปีงบประมาณ 2555 - 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาจากบันทึกข้อมูลการใช้ยาเคมีบำบัด (Patient profile) ที่เภสัชกรได้บันทึกขณะเยียมติดตามการใช้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2558 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Fisher's Exact Test ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้

          เมื่อเปรียบเทียบผลในการป้องกันการอาเจียนชนิดเฉียบพลันของยาทั้ง 3 กลุ่ม พบว่ายา Dexamethasone 12 มิลลิกรัม ร่วมกับยา Ondansetron 16 มิลลิกรัม สามารถป้องกันการอาเจียนชนิดเฉียบพลันได้ดีกว่ายา Metoclopramide 10 มิลลิกรัม และยา Ondansetron 8 มิลลิกรัม

          จากการค้นพบดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรงพยาบาลชัยภูมิควรกำหนดแนวทางปฏิบัติในการให้ยาป้องกันการอาเจียนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยใช้ยา Dexamrthasone injection 12 มิลลิกรัม ร่วมกับยส Ondansetron injection 16 มิลลิกรัม แต่อย่างไรก็ดีพบว่าผู้ป่วยยังเกิดการอาเจียนชนิดเฉียบพลันถึงร้อยละ 40.0 ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงยาเคมีบำบัดที่ใช้ จะเห็นว่าเป็นนาสูตร FAC ซึ่งมีระดับความเสี่ยงในการทำให้เกิดอาการอาเจียนได้สูง โดย NCCN Clinical Practice Guidelines in Onclologu, Antienmesis, v.1.2009 ได้แนะนำให้ใช้ยาแอพรีพิแทนต์ (Aprepitan) รว่มกับยา Dexamethasone และยา Ondansetron ดังนั้นควรจัดหายาตามที่ Guideline แนะนำมาใช้ป้องกันการอาเจียนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ หากไม่สามารถจัดหาได้ครบทุกชนิดตาม Guideline แนะนำ ก็ควรจะทำการวิจัยเพิ่มเติม ในประเด็นความเหมาะสมของยาป้องกันการอาเจียนในแต่ละสูตรยาเคมีบำบัดที่ผู้ป่วยได้รับ รวมทั้งวิธีการบริหารยาป้องกันการอาเจียน ซึ่งอาจมีผลต่อการป้องกันการอาเจียนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้

 

Abstract

          The objective of this descriptive research was to study and compare acute vomit prevention characteristics of 3 antiemetics : Metoclopramide injection 10 mg, Ondansetroninjection 8 mg, and Dexamethasone injection 12 mg together withOndansetron injection 16 mg . The sample group composed of 93 breast cancer patients treated with FAC regimen Chemotherapy in Chaiyaphum Hospital from 2558 - 2558 B.E. fiscal years. The research tool was data collection form, administered to collect data from Chemotherapy patient profile that pharmacist created during the 1st - 31st October 2558 B.E. in the supervision of chemotherapy usage in cancer patients. The data analysis with descriptive statistics was based on quantity, percentage, mean, and standard deviation: and that with inferential  statistics was based on Fisher's Exact Test. result showed that.

          When compariing results of the 3 antiemetics in preventing acute vomit symptom, it appeared that a dosage of Dexamethasone 12 mg togethe with Ondansetron 16 mg gave better prevention of acute vomit symptom than a dosage of Metoclopramide 10 mg, and Ondansertron 8 mg.

          The aforementioned finding suggested that  Chaiyaphum Hospital should specify guidelines to provide these patients with Dexamthasone injection 12 mg together with Ondansetron injection 16 mg. However, up to 40.0% of patien still had acute vomit symptom, which, as found by in vesting the medications in chemotherapy, caused by FAC regimen medications that had high risk to provoke vomit symptom. According to NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology, Antiemesis, V.1.2009, the usage of Aprepitant together with Dexametasone and Ondansetron was suggested and therefore should be administered according to the guideline to prevent vomit symptom in the patients. If all medications in the guideline cannot be provided, the research on suitability and administration of each medication in chemotherapy that affected the prevention of vomit symptom of the patients should be further conducted. 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01