ผลของการเยี่ยมบ้านต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มควบคุมโรคไม่ดี ตำบลโคกสะอาด อำภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ : Effect of home visit Knowledge, attitude, self care behaviors and fasting blood sugar in uncontrolled diabetes mellitus in Koksa-ard Nongbuarawae district, Chaiyaphum.
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนแลละหลังทดลอง (One-group pre-post test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเยี่ยมบ้านต่อความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มควบคุมโรคไม่ดีทุกคนของตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน หลังจากคัดเลือกผู้ป่วยตามเกณฑ์จากนั้นเยี่ยมบ้านกลุ่มตัวอย่าง อย่างน้อย 2 ครั้งต่อคน (ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน) เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มตัวอย่าง พร้อมหาสาเหตุที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และเพิ่มความรู้ในส่วนที่ยังขาดไปของกลุ่มตัวอย่างและครอบครัว จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value<0.05
ผลการวิจัย ผลต่อความรู้และทัศนคติเรื่องโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.005) ผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในแต่ละด้าน ก่อนและหลังการเยี่ยมบ้านไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่พบว่าพฤติกรรมภาพรวมดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) พบว่ามีค่าเฉลี่ยของ FBS ลดลงแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.789) กาอนลงเยี่ยมบ้านพบว่าสาเหตุของการควบคุมน้ำตาลไม่ดีส่วนใหญ่เกิดจากไม่ควบคุมอาหาร (ร้อยละ 86) รองลงมาคือไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 81) หลังลงเยี่ยมบ้านพบว่าสาเหตุของการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีส่วนใหญ่เกิดจากไม่ควบคุมอาหาร (ร้อยละ 95) และทำให้ทราบรายละเอียดว่าไม่สามารถควบคุมอาหารได้ทั้งชนิดของอาหาร ปริมานที่รับประทาน และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สาเหตุรองลงมาคือไม่ออกกำลังกาย (ร้อยละ 81) และนอกจากนี้การเยี่ยมบ้านทำให้ทราบสาเหตุอื่นๆ (ร้อยละ 71) เพิ่ม เช่นการใช้ยาอื่นร่วมด้วย เช่นยาน้ำ ยาสมุนไพรที่กลุ่มตัวอย่างเชื่อว่ารักษาเบาหวานร่วมได้
อภิปรายและสรุปผลการวิจัย จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า การเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มควบคุมโรคไม่ดี ช่วยทำให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ ทัศนคติเพิ่มขึ้นและทราบสาเหตุของการควบคุมระดับน้ำตาลไม่ดีเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนเยี่ยมบ้าน ถึงแม้ว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (Fasting blood sugar, FBS) จะไม่แตกต่างจากก่อนเยี่ยมบ้าน ดังนั้นการเยี่ยมบ้านที่ต่อเนื่องเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มควบคุมโรคไม่ดี
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2019 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.