การพัฒนาการผลิตหม่ำ โดยอาศัยหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต : Development of Producing "MUM" by Good Manufacturing Practise (GMP)

ผู้แต่ง

  • Eksuree Wongchaiphum

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตหม่ำในด้านการสุขาภิบาล, การบำรุงรักษาและทำความสะอาด, บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้หม่ำเป็นผลิตภัณฑ์ผ่านการรับรองคุณภาพจากจังหวัดชัยภูมิ โดยอาศัยหลักเกณฑ์วิธีก่ารที่ดีในการผลิต (GMP) ศึกษาจากผู้ผลิตหม่ำที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 45 ราย ใช้แบบตรวจสถานที่ผลิตอาหารประเภทหม่ำ จากแบบบันทึกการตรวจสถานที่ผลิตอาหาร ด้านสุขลักษณะทั่วไป 6 หมวด ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยการประเมินก่อนจัดอบรมให้ความรู้ผู้ผลิตหม่ำในเดือน เมษายน 2558 และหลังการจัดอบรมในเดือน กรกฎาคม 2558 พร้อมกับการเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์เพื่อรับรองคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ข้อมูลชนิดแจงนับ นำเสนอเป็นจำนวน และร้อยละ ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนผลการดำเนินการก่อน-หลัง ใช้สถิติ Pair - Samples T-Test

          ผลการศึกษาพบว่า ก่อนดำเนินการผู้ผลิตไม่ผ่านกณฑ์มาตรฐานทั้ง 6 หมวด ร้อยละ 44.4, 51.1, 40.0, 73.3, 46.7 และ 60.0 ตามลำดับ หลังดำเนินการผู้ผลิตผ่านเกณฑ์มาตรฐานทุกหมวด ร้อยละ 97.8 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนการตรวจสอบสถานที่ผลิตหม่ำในแต่ละหมวดหลังดำเนินการมากกว่าก่อนดำเนินการ มึความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P<0.001 และผลการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ก่อนดำเนินการ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 68.9 หลังดำเนินการพัฒนาผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 84.4 แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการผลิตหม่ำ โดยใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) ส่งผลให้ผู้ผลิตมีการผลิตที่ดีขึ้น

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01