การบูรณาการดูแลผู้ป่วยสูบบุหรี่ในคลินิกโรคเรื้อรัง : Healthy Lung Clinic

ผู้แต่ง

  • Pakamas Sutitiwanich

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรค ข้อมูลผู้สูบบุหรี่ในกลุ่มโรคเรื้อรัง ร้อยละ 30 ทำให้เสียงบประมาณในการซ่อมแซมสุขภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบ

          วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้สามารถลด เลิกได้ 2. มีแนวทางการดูแลบำบัด 3. ทำงานร่วมกันเป็นทีม

          ระยะเวลาศึกษา 1 มิถุนายน 2556 - 31 พฤษภาคม 2557

          วิธีการศึกษา ประชุมหาแนวทางการปฏิบัติ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ คัดกรองประวัติการสูบบุหรี่ ประเมินระดับความรุนแรงติดบุหรี่และภาวะสุขภาพ จัดตั้งคณะทีมทำงาน  ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ ประเมินความพร้อมและวัดคาร์บอนมอนออกไซต์ (CO) แสดงถึงปริมาณ CO สอดคล้องกับการสูบบุหรี่ กระบวนการบำบัดใช้ทักษะ 5A วิเคราะห์ร่วมกับอาการที่เป็นอยู่ บันทึกข้อมูล นัดติดตามเป็นเวลา 6 เดือน ติดตามสูบบุหรี่ เดือนที่ 1, 3 และ 6 ประสานข้อมูลร่วมกับบุคลากรคลินิกโรคเรื้อรัง รพสต. และชุมชนในพื้นที่ สรุปผล ปัญหา อุปสรรคและวางแผนจัดการกิจกรรมต่อเนื่อง

          ผลการดำเนินงาน จำนวนผู้ป่วย 365 คน ชายร้อยละ 97.96 และที่เหลือ หญิง อายุ 24-72 ปี โดยมีอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 27.4 มากที่สุด รองลงมาอายุ 51-60 ปี และอายุ 31-40 ปี ตามลำดับ ชนิดยาสูบส่วนมากยาเส้น รองลงมาใช้ยาเส้นกับยาซอง เวลาสูบมากว่า 40 ปี ร้อยละ 39 รองลงมาสูบ 30-39 ปี และน้อยกว่า 30 ปี ตามลำดับ

          การติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เดือนที่ 1, เดือนที่ 3, เดือนที่ 6

          สรุปผล พบว่าเลิกบุหรี่ได้ ลดการสูบได้ เฉลี่ยร้อยละ 44.1 และที่เหลือเลิกสูบได้เฉลี่ย ร้อยละ 55.9 แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น ลดค่าใช้จ่าย ดำรงชีวิตประจำวันและการทำงานมีประสิทธิภาพ ครอบครัวให้กำลังใจ มีแนวทางการบำบัดดูแลผู้สูบบุหรี่ และทำงานเป็นทีมสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ

          การเรียนรู้/การนำไปใช้ การช่วยเหลือให้ลด เลิกพฤติกรรมการสูบ ทำให้ลดภาวะแทรกซ้อนของโรค ควบคุมอาการได้

          แผนการดำเนินงานต่อไป พัฒนาบุคลากรในคลินิกโรคเรื้อรังมีทักษะในการช่วยเหลือผู้สูบบุหรี่ สร้างแรงจูงใจโดยการให้รางวัลแก่หน่วยงานที่สามารถขับเคลื่อนการดูแลผู้สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ได้และมีนวัตกรรม

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-08-01