This is an outdated version published on 2019-07-30. Read the most recent version.

การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดช่องท้อง และแบบผ่าตัดด้วยกล้องวีดีทัศน์ 3 แผล ในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ : Comparative Study between Open cholecystectomy and Three port Laparoscopic cholecystectomy in Chatturat rural Hospital.

ผู้แต่ง

  • Anuwat Seewatee

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       ความเป็นมา การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องวีดิทัศน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และถือว่าเป็นมาตรฐานของการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีในปัจจุบัน เนื่องจากมีข้อดีกว่าหลายประการเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง

          วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการผ่าตัด ปริมาณเลือดที่เสียไป ระหว่างการผ่าตัดระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีชนิดมีอาการด้วยวิธีการแบบเปิดช่องท้อง (Open Cholecystectomy, OC) และการผ่าตัดแบบผ่าด้วยกล้องวีดิทัศน์ 3 แผล (Three-port Laparoscopic cholecystectomy, Tjree-port: LC) ในโรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

          วิธีการ Retrospective analysis study

          แหล่งข้อมูล สืบค้นจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีชนิดมีอาการ แบบเปิดช่องท้อง (Open Cholecystectomy, OC) และการผ่าตัดแบบผ่าด้วยกล้องวีดิทัศน์ 3 แผล (Three-port Laparoscopic cholecystectomy, Three-port: LC) ที่โรงพยาบาลจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2554 ถึง เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง 30 ราย และผ่าตัดด้วยกล้องวีดิทัศน์แบบ 3 แผล 30 ราย โดบเก็บข้อมูลด้าน เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (ASA) ระยะเวลาในการผ่าตัด ปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัด ระดับความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง และระยะเวลานอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดเป็นวัน หลังจากนั้นนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ (Stata version: Stata Corp, TX, USA) การวิเคราะห์ข้อมูลอธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่ามัธยฐาย (Median) ค่าสูงสุด (Maximum) และค่าต่ำสุด (Minimum) รวมทั้งการทดสอบแมนวิชนี่ (Mann-Whiney Test) และทดสอบไคสแคว์ (Chi-square test) มาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมด้วย

           ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value>0.05) ในเรื่องเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (ASA) ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ส่วนในเรื่อระยะเวลาในการผ่าตัด ในกลุ่มที่ผ่าตัดด้วยการส่องกล้องวิดีทัศน์ 3 แผล จะใช้เวลานานกว่ากลุ่มผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในขณะที่เรื่องปริมาณเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง ตลอดจนระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดในกลุ่มที่ผ่าตัดด้วยกล้องวีดิทัศน์ 3 แผล จะน้อยกว่ากลุ่มที่ผ่าตัดแบบเปิดช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

          สรุป การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องวีดิทัศน์ 3 แผล (Three-port: LC) เสียเลือดระหว่างการผ่าตัด ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ 2, 4, 8, 24 และ 48 ชั่วโมง และใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลหลังผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง (OC)

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-07-30

เวอร์ชัน