ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ
คำสำคัญ:
วัณโรค , การเสียชีวิต , โรงพยาบาลชัยภูมิบทคัดย่อ
ความเป็นมา: วัณโรคยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนทั่วโลก การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถนำมาพยากรณ์และวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ Unmatched case control นี้ กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่เสียชีวิตระหว่างการรักษา จำนวน 110 ราย และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่รอดชีวิตระหว่างการรักษา จำนวน 220 ราย ในคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลชัยภูมิในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi square test สถิติ Fisher exact test และคำนวณหาขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Odds ratio และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค คือ อายุมากกว่า 60 ปี (OR = 1.94, 95%CI 1.18-3.20, p = 0.005) ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (OR = 4.52, 95%CI 2.68-7.69, p < 0.001) ประวัติเคยเป็นวัณโรคมาก่อน (OR = 2.32, 95%CI 1.03-5.18, p = 0.039) การมีวัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี (OR = 2.64, 95%CI 1.28-5.43, p = 0.003) และตับอักเสบ (OR = 8.26, 95%CI 1.22-408.73, p = 0.044)
สรุป: จากผลการศึกษานี้ บุคลากรทางการแพทย์ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลติดตามผู้ป่วยวัณโรคที่มีปัจจัยเสี่ยง คือ มีการติดเชื้อเอชไอวี อายุมากกว่า 60 ปี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ประวัติเคยเป็นวัณโรคมาก่อน และมีภาวะตับอักเสบ
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ.2561. นนทบุรี: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการต่อต้านวัณโรค พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2562). ตัวชี้วัดอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรคและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค [ไม่ได้ตีพิมพ์]. ชัยภูมิ: กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ.
Schlesselman JJ. (1974). Sample size requirements in cohort and case-control studies of disease. Am J Epidemiol, 99(6):381-4.
Schlesselman JJ. (1982). Case-control studies design, conduct analysis. New York : Oxford University Press.
Hameed S, Zuberi FF, Hussain S, Ali Sk. (2019). Risk factors for mortality among inpatients with smear positive pulmonary tuberculosis. Pak J Med Sci, 35(5):1361-5.
วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, ปวีณา จังภูเขียว, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์. (2559). สาเหตุและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคระหว่างการรักษา ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2552-2553. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 23(1):22-34.
พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ, วิเชียร ตระกูลกลกิจ, สากล คมขำ, เสริมสุข รัตนสุวรรณ. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ภายใต้รูปแบบการดำเนินงาน Non-Family DOT ของโรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีงบประมาณ 2550-2558. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัดวิกฤต, 37(2):35-41.
เจริญศรี แซ่ตั้ง. (2560). ลักษณะของผู้ป่วยวัณโรคและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตระหว่างการรักษาของ ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในภาคเหนือตอนบน ปี 2005-2014. วารสารควบคุมโรค, 43(4):436-47.
พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล. (2559). การเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคที่ติดเชื้อเอชไอวี และอุปสรรคของความต่อเนื่องในระบบบริการดูแลรักษาเอไอวี. วารสารวัณโรค โรคทรวงอก และเวชบำบัดวิกฤติ, 36(1):8-18.
Almeida CPBD, Ziegelmann PK, Couban R, Wang L, Busse JW, Silva DR. (2018). Predictors of in-hospital-mortality-among-patients-with pulmonary tuberculosis: a systematic review and meta-analysis. Scientific Reports, 8:7230.
Kwon YS, Kim YH, Song JU, Jean K, Song J, Ryu YJ, et al. (2014). Risk factors for death during pulmonary tuberculosis treatment in Korea: a multicenter retrospective cohort study. J Korean Med Sci, 29(9):1226-31.
Takarinda KC, Sandy C, Masuka N, Hazangwe P, Choto R, Mutasa-Apollo T, et al. Factors associated with mortality among patients on TB treatment in the southern region of Zimbabwe, 2013. Tuberc Res Treat, 2017:6232071.
Semunigus T, Tessema B, Eshetie S, Moges F. (2016). Smear positive pulmonary tuberculosis and associated factors among homeless individuals in Dessie and Debre Birhan towns, Northeast Ethiopia. Ann Clin Microbial Antimicrob, 15(1):50.
Papathakis P, Piwoz E. (2008). Nutrition and tuberculosis: a review of the literature and considerations for TB control programs. United States Agency for International Development, Washington: USAID.
ราเมศ คนสมศักดิ์. (2560). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อ โรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย. วารสารโรงพยาบาลสมเด็จพระญาณสังวร จังหวัดเชียงราย, 9(1).19-27.
อัจฉรา รอดเกิด. (2562). สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเสียชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดสุราษณ์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(1):91-102.
Zerbini E, Greco A, Estrada S, Cisneros M, Columbo C, Beltrame S, et al. (2017). Risk factors associated with tuberculosis mortality in adults in six provinces of Argentina. Medicina (B Aires), 77(4):267-73.
Beavers SF, Pascopella L, Davidow AL, Mangan JM, Hirsch-Moveman YR, Golub JE. (2018). Tuberculosis mortality in the United States: epidemiology and prevention opportunities. Ann Am Thorac Soc, 15(6):683-92.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-18 (2)
- 2020-08-20 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.