This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Factors associated with mortality among patients with tuberculosis at Chaiyaphum hospital = ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Thanun Thanwiset

บทคัดย่อ

Abstract

      Background: Tuberculosis (TB) is still remains as a leading cause of high morbidity and mortality worldwide. Identifying risk factors for mortality following diagnosis of TB is important to predict prognosis in tuberculosis patients and planning effective. The aim of this study was to identify the factors associated with mortality among patients with TB at Chaiyaphum hospital, Thailand.

      Methods: An unmatched case control study was conducted on 110 patients with TB who died during treatment (case group) and 220 patients with TB who survived during treatment (control group) at tuberculosis clinic of Chaiyaphum hospital during the period from 1stOctober 2016 to 30th September 2019. Data were collected from medical records. The data were analyzed using Chi square test, Fisher exact test, and calculating the odds ratio (OR) with 95% confidence intervals (95%CI).

      Results: The results showed that the factors associated with TB mortality included age > 60 years (OR = 1.94, 95%CI 1.18-3.20, p = 0.005), body mass index lower than 18.5 kg/m2 (OR = 4.52, 95%CI 2.68-7.69, p < 0.001), recurrent TB (OR = 2.32, 95%CI 1.03-5.18, p = 0.039), HIV co-infected (OR = 2.64, 95%CI 1.28-5.43, p = 0.003), and hepatitis (OR = 8.26, 95%CI 1.22-408.73, p = 0.044).

      Conclusions: This study recommended that health care providers should recognize and have special follow up of patients with TB who had HIV co-infected, age > 60 years, underweight, recurrent TB, and hepatitis.

         Keywords: Tuberculosis, mortality, Chaiyaphum hospital


บทคัดย่อ

      ความเป็นมา: วัณโรคยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนทั่วโลก การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคมีความสำคัญ เนื่องจากสามารถนำมาพยากรณ์และวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชัยภูมิ

      วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบ Unmatched case control นี้ กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่เสียชีวิตระหว่างการรักษา จำนวน 110 ราย และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยวัณโรคที่รอดชีวิตระหว่างการรักษา จำนวน 220 ราย ในคลินิกวัณโรคของโรงพยาบาลชัยภูมิในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Chi square test สถิติ Fisher exact test และคำนวณหาขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Odds ratio และช่วงเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95

      ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยวัณโรค คือ อายุมากกว่า 60 ปี (OR = 1.94, 95%CI 1.18-3.20, p = 0.005) ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (OR = 4.52, 95%CI 2.68-7.69, p < 0.001) ประวัติเคยเป็นวัณโรคมาก่อน (OR = 2.32, 95%CI 1.03-5.18, p = 0.039) การมีวัณโรคร่วมกับการติดเชื้อเอชไอวี  (OR = 2.64, 95%CI 1.28-5.43, p = 0.003) และตับอักเสบ (OR = 8.26, 95%CI 1.22-408.73, p = 0.044)

      สรุป: จากผลการศึกษานี้ บุคลากรทางการแพทย์ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลติดตามผู้ป่วยวัณโรคที่มีปัจจัยเสี่ยง คือ มีการติดเชื้อเอชไอวี อายุมากกว่า 60 ปี  น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ประวัติเคยเป็นวัณโรคมาก่อน และมีภาวะตับอักเสบ

       คำสำคัญ: วัณโรค การเสียชีวิต โรงพยาบาลชัยภูมิ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน