This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Risk factors for morbidity and mortality of operated perforated peptic ulcer patients in Loei hospital = ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุในโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • Wichian Molyoopanao

บทคัดย่อ

Abstract

Perforated peptic ulcer is a common complication of peptic ulcer disease . The morbidity and mortality still high. Surgical management is essential in almost patients. Optimal surgical management and proper  perioperative care may reduce the morbidity and mortality of these patients.

Objective: To find out the risk factors for morbidity and mortality of operated perforated peptic ulcer patients

Material and method: Retrospective study of 302 patients who operated for perforated peptic ulcer at Loei hospital from 2016 to 2019. The patients characteristic , type of ulcer, time from perforation to operation , type of operation , result of treatment ,and complication were analyzed .

Result:302 patients were included in this study . 267 patients were male (88%)and 35 patients were female(12%). The mean age was58± 14years (range 17-95 years). 12 patients were die (4%) and 29 patients have post-operative complication (10%) . On multivariable  logistic regression analysis show that associated medical illness and time from perforation to operation more than 24 hours (perforation-operation time interval) were significantly associated with high morbidity and mortality of operated perforated peptic ulcer patients .

Conclusion: perforated peptic ulcer patients still have high morbidity and mortality. Early diagnosis, adequate resuscitation, and timely operation may improve outcome of patients especially in high risk patients.

 Keyword: patient with peptic ulcer perforation, risk factor of postoperative, morbidity and mortality.

 

บทคัดย่อ

                แผลเป็บติกทะลุเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเป็บติกที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มสูงขึ้น และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตและการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง การรักษาส่วนใหญ่ต้องการการผ่าตัด ศัลยแพทย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยได้ผลดี ลดอัตราตายและการเกิดภาวะแทรกซ้อน

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตในผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุ

วิธีการวิจัย: ศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุที่ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเลย จากปีพ.ศ. 2559 ถึงปีพ.ศ. 2562 โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ชนิดของแผลทะลุระยะเวลารอคอยผ่าตัด ชนิดการผ่าตัด ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ

ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยทั้งหมด 302 คนที่ได้รับการผ่าตัดในช่วงเวลาดังกล่าวโดยพบว่าเป็นเพศชาย 267 คน (88%) เป็นผู้หญิง 35 คน (12%)ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่17ปีถึง 95ปี (เฉลี่ย 58± 14 ปี) มีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังการผ่าตัด 12 คน (4%) พบมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 29 คน (10%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า การมีโรคร่วม และการรอคอยผ่าตัดนานกว่า 24 ชั่วโมงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด

สรุปผล: แผลเป็บติกทะลุถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคแผลเป็บติกโดยยังพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตสูง การให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว การให้การรักษาก่อนผ่าตัดที่เหมาะสมและการผ่าตัดรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้

 คำสำคัญ: ผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุ, ปัจจัยเสี่ยงหลังการผ่าตัด, ภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน