ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุ ในโรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • วิเชียร มลอยู่พะเนา กลุ่มงานศัลยกรรรม โรงพยาบาลเลย

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุ, ปัจจัยเสี่ยงหลังการผ่าตัด, ภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต

บทคัดย่อ

แผลเป็บติกทะลุเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลเป็บติกที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มสูงขึ้น และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตและการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงการรักษาส่วนใหญ่ต้องการการผ่าตัด ศัลยแพทย์ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสมเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยได้ผลดี ลดอัตราตายและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน

วัตถุประสงค์ : เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตในผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุ

วิธีการวิจัย: ศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยแผลเป็บติกทะลุที่ได้รับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเลย จากปีพ.ศ. 2559 ถึงปี พ.ศ. 2562 โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของผู้ป่วย ชนิดของแผลทะลุระยะเวลารอคอยผ่าตัด ชนิดการผ่าตัด ผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ

ผลการวิจัย: มีผู้ป่วยทั้งหมด 302 คนที่ได้รับการผ่าตัดในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นเพศชาย 267 คน(88%) เพศหญิง 35 คน (12%) ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 17 ปีถึง 95 ปี (เฉลี่ย 58± 14 ปี) มีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังการผ่าตัด 12 คน(4%) พบมีภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด 29 คน(10%) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติพบว่า การมีโรคร่วม และการรอคอยผ่าตัดนานกว่า 24 ชั่วโมงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตของผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด

สรุปผล: แผลเป็บติกทะลุถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของโรคแผลเป็บติก โดยยังพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตสูง การให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว การให้การรักษาก่อนผ่าตัดที่เหมาะสมและการผ่าตัดรักษาที่รวดเร็วจะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้

เอกสารอ้างอิง

Chung TK, Shelat GV. (2017). Perforated peptic ulcer-an update. World J GastrointestSurg, 9(1):1-12.

Dempsey DT, Kitagawa Y, Stomach, Anderson DK, Timothy R, Dunn DL, et al. (2015). Stomach. Schwartz’s principle of surgery. New York: The McGraw-Hill Companies.

Marietta JE, Bertleff, Johan F. (2010). Lange .Perforated Peptic Ulcer Disease: A Review of History and Treatment. Dig Surg, 27(1):161–9.

Ruangsak Nusree. (2005). Conservative Management of Perforated Peptic Ulcer. The THAI Journal of SURGERY, 26(1):5-8.

Boey J, Wong J, Ong BG. (1982). A prospective study of operative risk factors in perforated duodenal ulcers. Ann. Surg, 195(3):265-9.

Ilhan T, Burak VU, AkınO, Murat K, Zubeyir B. (2015). Risk factors influencing morbidity and mortality in perforated peptic ulcer disease. UlusalCerDerg, 31(1):20-5.

Kim JM, Jeong SH, Lee YJ, Park ST, Choi SK, Hong SC, et al. (2012). Analysis of Risk Factors for Postoperative Morbidity in Perforated Peptic Ulcer. J Gastric Cancer, 12(1):26-35.

Dakubo J, Naaeder SB, Clegg Lamptey JN. (2009). Gastro-duodenal peptic ulcer perforation. East African Medical Journal, 86(3):1-5.

Kujath P, Schwandner O, Bruch HP. (2002). Morbidity and mortality of perforated peptic gastroduodenal ulcer following emergency surgery. Langenbecks Arch Surg, 387(1):298–302.

Bas G, Eryilmaz R, Okan I, SahinI. (2008). Risk Factors of Morbidity and Mortality in Patients with Perforated Peptic Ulcer. ActaChirBelg, 108(1):424-7.

Ciftci F, Erozgen F. (2018). Patients With Perforated Peptic Ulcers: Risk Factors for Morbidity and Mortality. International Surgery, 103(11):578-84.

Gona SK, Alassan MK, Marcellin KG, Henriette KY, Adama C, Toussaint A, et al. (2016). Postoperative Morbidity and Mortality of Perforated Peptic Ulcer: Retrospective Cohort Study of Risk Factors among Black Africans in Côte d'Ivoire. Gastroenterol Res Rract, 2016(1):1-7.

Pan CW, Liou LR, Mong FY, Tsao MJ, Lioa GS. (2020). Simple laparoscopic repair of perforated peptic ulcer without omental patch. Asian Journal of Surgery, 43(1):311-4.

Ellatif MEA, Salama AF, Elezaby AF, ElKaffas HF, Hassan A, Magdy A, et al. (2013). Laparoscopic repair of perforated peptic ulcer: Patch versus simple closure. International Journal of Surgery, 11(9): 948-51.

Kenneth T, Soreide JA, SoreideK. (2014). What Is the Best Predictor of Mortality in Perforated Peptic Ulcer Disease? A Population-Based, Multivariable Regression Analysis Including Three Clinical Scoring Systems. J GastrointestSurg, 18(1):1261–8.

Sillakivi T, Lang A, Tein A, Peesula A. (2000). Evaluation of risk factors for mortality in surgically treated perforated peptic ulcer. Hepato-gastroenterology, 47(36):1765-8.

Chalya LP, Mabula BJ, Koy M, Mchembe DM, Jaka MH, Kabangila R, et al. (2011). Clinical profile and outcome of surgical treatment of perforated peptic ulcers in North western Tanzania: A tertiary hospital experience. World Journal of Emergency Surgery, 6(31):1-10.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน