This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Complications after conservative treatment of hip fracture in elderly patients at Kaengkhro Hospital, Chaiyaphum Province = ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Chaloemkiat Suwannathen

บทคัดย่อ

Abstract

Background: Thailand will develop into fully aging society in the next decade. The rapid increase in the proportion of the elderly will increase the prevalence of hip fractures in Thailand in the future. Despite standard treatment is surgery, but sometimes conservative treatment is still a treatment method used in many situations.

Objective: The aim of this study was to evaluate incidence of complications after conservative treatment of hip fracture in elderly patients at Kaengkhro hospital, Chaiyaphum province.

Material and methods: A retrospective chart review was performed on patients with age >60 and diagnosed with femoral neck fracture or intertrochanteric fracture from low-energy trauma at Kaengkhro hospital during January 2015 to January 2019. To study incidence of complications after conservative treatment until 1 year of treatment

Results: Incidence of hip fracture in elderly patients has 132. Eighty-two (62.1%) were received conservative treatment, seventy were admission and twelve refused to admission. During admission period revealed complications in thirty patients (42.8%), the most complication was pressure sore in ten patients (14.3%). Eight death (11.4%) were record during admission. After 1 year follow-up, revealed complications in fifty patients (60.9%), the most complication was pressure sore in thirty patients (40.5%). 1-year mortality rate was 58.5. The most ambulation status at 1 year follow-up were ambulate with wheelchair in thirty patients (88.2%).

Conclusion: After conservative treatment of hip fracture in elderly patients in 1 year follow-up revealed the most complication was pressure sore with incidence of complications and mortality rate around 60 percent and all of still alive patients ambulate with wheelchair.

 Key words: complication, hip fracture, conservative treatment

 

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุมีจำนวนสูงขึ้นและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน แม้การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักจะมีการพัฒนาและได้ผลการรักษาที่ขึ้นมากในปัจจุบัน แต่บางครั้งการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดก็ยังเป็นแนวทางการรักษาที่ใช้ในหลายๆ ปัจจัย ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจถึงผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างมกราคม พ.ศ. 2558 ถึง มกราคม พ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ที่มาจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงแล้วทำการติดตามผลการรักษาจนครบ 1 ปี หลังเข้ารับการรักษา

ผลการศึกษา อุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ 132 ราย รักษาด้วยการไม่ผ่าตัด  82 ราย (ร้อยละ 62.1) รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 70 ราย และปฎิเสธการรักษา 12 ราย มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างนอนโรงพยาบาล 30 ราย (ร้อยละ 42.8) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือแผลกดทับ 10 ราย (ร้อยละ 14.3) เสียชีวิตระหว่างนอนโรงพยาบาล 8 ราย (ร้อยละ 11.4) ภายหลังติดตามการรักษาจนครบ  1 ปี มีภาวะแทรกซ้อน 50 ราย (ร้อยละ 60.9) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือแผลกดทับ 30 ราย (ร้อยละ 40.5) มีอัตราการตายภายใน 1 ปี ร้อยละ 58.5 (จำนวน 48 รายใน 82 ราย) ความสามารถในการเดินที่ 1 ปี ที่พบมากที่สุดคือ เดินเองไม่ได้ 30 ราย (ร้อยละ 88.2)  

สรุป ภายหลังการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจนครบ 1 ปี ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือแผลกดทับ พบภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายประมาณร้อยละ 60 และทั้งหมดไม่สามารถเดินได้เอง

 คำสำคัญ : ภาวะแทรกซ้อน, กระดูกสะโพกหัก, การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด, การรักษาแบบอนุรักษ์

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน