ภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • เฉลิมเกียรติ สุวรรณเทน โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะแทรกซ้อน, กระดูกสะโพกหัก, การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด, การรักษาแบบอนุรักษ์

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุมีจำนวนสูงขึ้นและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน แม้การผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหักจะมีการพัฒนาและได้ผลการรักษาที่ขึ้นมากในปัจจุบัน แต่บางครั้งการรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดก็ยังเป็นแนวทางการรักษาที่ใช้ในหลายๆ ปัจจัย ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจถึงผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ระหว่างมกราคม พ.ศ. 2558 ถึง มกราคม พ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ที่มาจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงแล้วทำการติดตามผลการรักษาจนครบ 1 ปี หลังเข้ารับการรักษา

ผลการศึกษา อุบัติการณ์กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ 132 ราย รักษาด้วยการไม่ผ่าตัด 82 ราย (ร้อยละ 62.1) รับไว้รักษาในโรงพยาบาล 70 ราย และปฎิเสธการรักษา 12 ราย มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างนอนโรงพยาบาล 30 ราย (ร้อยละ 42.8) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือแผลกดทับ 10 ราย (ร้อยละ 14.3) เสียชีวิตระหว่างนอนโรงพยาบาล 8 ราย (ร้อยละ 11.4) ภายหลังติดตามการรักษาจนครบ 1 ปี มีภาวะแทรกซ้อน 50 ราย (ร้อยละ 60.9) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือแผลกดทับ 30 ราย (ร้อยละ 40.5) มีอัตราการตายภายใน 1 ปี ร้อยละ 58.5 (จำนวน 48 รายใน 82 ราย) ความสามารถในการเดินที่ 1 ปี ที่พบมากที่สุดคือ เดินเองไม่ได้ 30 ราย (ร้อยละ 88.2) 

สรุป ภายหลังการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดในผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจนครบ 1 ปี ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดคือแผลกดทับ พบภาวะแทรกซ้อนและอัตราการตายประมาณร้อยละ 60 และทั้งหมดไม่สามารถเดินได้เอง

เอกสารอ้างอิง

ฐิตินันท์ อนุสรณ์วงศ์ชัย. (2562). การประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน. วารสารกรมการแพทย์, 44(4):13-5.

Cooper C, Campion G, Melton LJ III. (1992). Hip fractures in the elderly: a world-wide projection. Osteoporos Int, 2:285-9.

Gullberg B, Johnell O, Kanis JA. (1997). World-wide projections for hip fracture. Osteoporos Int, 7:407-13.

Chatlert Pongchaiyakul, Thawee Songpattanasilp, Nimit Taechakraichana. (2008). Burden of osteoporosis in Thailand. J Med Assos Thai, 91(2):261-7.

P Dargent-Molina, F Favier, H Grandjean, C Baudoin, A M Schott, E Hausherr,, et al. (1996). Fall related factors and hip fracture: The EPIDOS prospective study. Lancet, 348(9021):145-9.

J A Grisso, J L Kelsey, B L Strom, G Y Chiu, G Maislin, L A O'Brien, et al. (1991). Risk factors for falls as a cause of hip fracture in woman. The Northeast Hip Fracture Study Group. N Engl J Med, 324(19):1326-31.

Conn KS, Parker MJ. (2004). Undisplaced intracapsular hip fractures: Results of internal fixation in 375 patients. Clin Orthop Relat Res, 421:249-54.

P Cserháti, G Kazár, J Manninger, K Fekete, S Frenyó. (1996). Non-operative or operative treatment for undisplaced femoral neck fractures: A comparative study of 122 non-operative and 125 operatively treated cases. Injury, 27(8):583-8.

Parker MJ, Pryor GA. (2000). Internal fixation or arthroplasty for displaced cervical hip fractures in the elderly: A randomised controlled trial of 208 patients. Acta Orthop Scand, 71(5):440-6.

John FK. (2015). Femoral neck fractures. In [editors] Charles M. Court-Brown. Rockwood and Greens fractures in adults. eighth edition. Philadelphia : Wolters Kluwer Health.

Thomas AS. (2015). Intertrochanteric fractures of the hip. In [editors] Charles M. Court-Brown. Rockwood and Greens fractures in adults. eighth edition. Philadelphia : Wolters Kluwer Health.

พัฒน์ วรรณปิยะรัตน์. (2551). อัตราการเสียชีวิตและความสามารถในการเดินหลังกระดูกสะโพกหัก : เปรียบเทียบในกลุ่มผ่าตัด กับไม่ผ่าตัด. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 17(ฉบับเพิ่มเติม 2):411-7.

ชัยรัตน์ วงศ์วรพิทักษ์. (2559). อัตราตายที่ 1 ปีในผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุที่รักษาด้วยวิธิไม่ผ่าตัด. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 30(4):345-55.

เรืองเดช พิพัฒน์เยาว์กุล. (2560). ผลลัพธ์หลังจากการเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษา. วารสารแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 32(1):21-32.

เกียรติยศ จิตทรงบุญ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพัธ์กับอัตราการเสียชีวิตในช่วง 1 ปี ของผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารโรงพยาบาลบมหาสารคาม, 15(2):13-22.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน