This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Nursing Care for Patients Suffering from Dengue Shock Syndrome (DSS) : Case Study = การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค (Dengue Shock Syndrome : DSS) : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • Apinya Sattham

บทคัดย่อ

Abstract

            The objective of this study is to nursing care to the children who have suffered with Dengue Shock Syndrome (DSS) : case study at Pediatric Intensive Care Unit : PICU in Chaiyaphum hospital.  Author study from 17th June 2019 to 9st February 2020. The case study is a Thai child male, H.N. 410444, A.N. 620021530, age 14 years old, weight 32 kilograms and 145 centimeters tall. Four days before admitting to Phukhiew Chalermprakiet hospital, he had been having fever, drowsiness and fatigue. After 7 hours, under the care of Phukhiew Chalermprakiet hospital, he had conditions of dyspnea, tachycardia and shock. Therefore, he was intubated and transferred through Refer fast track to PICU Chaiyaphum hospital. Later, he was diagnosed with Dengue Shock Syndrome (DSS). His symptoms at the time off arrival was disorientation, fatigue, sweating and clammy skin. He had petechiae at chest wall and extremities, hepatomegaly 1 FB below RCM., Capillary refill less than 3 second. He had oroendotracheal tube No. 6.5 mm. depth 18 cms. with ventilator Pressure control : Assist with control mode : RR 20 BPM, inspired time 0.8 sec, PIP 14 cm.H2O, PEEP 4 cm.H2O, FiO2 1.0, 5% D/NSS ⓥ drip 20 cc./hr., Dobutamine 500 mg. in 5%D/W 250 ml. ⓥ drip 10 ml./hr., Dopamine 500 mg. in 5%D/W 250 ml. ⓥ drip 10 ml./hr. He had blood loss : gastric content coffee ground about 50 cc. Vital signs T = 38o C, pulse  120/min weak, Heart rate 120/min, respiration rate 20/min, blood pressure 118/69 mm.Hg. weak and O2 saturation 97%. Result of laboratorys: Hematocrit = 27%, White Blood Cell Count = 2,700 cell/cu.mm., Platelet Count = 48,000 cell/cu.mm., DTX = 118 mg%, BUN = 21.1 mg/dL, Creatinine = 1.55 mg/dL, Sodium = 125 mEq/L, Potassium = 4.2 mEq/L, Chloride = 104 mEq/L, Bicarbonate = 19.9 mEq/L, AST = 276 Unit/L, ALT = 186 Unit/L, Prothombin time = 22.1 second., Activate Partial Tromboplast = 47.1 second., INR = 1.88                 These following nursing problems were found: Shock period 1) hypovolemic shock due to plasma leakage 2)  blood loss due to decrease platelet 3) electrolyte imbalance due to DSS        4) hypocalcemia due to shock period 5) risk for tissue hypoxia due to shock period 6) risk for acute kidney injury due to shock period 7) risk for brain symptoms due to hepatic failure       8) Family members being anxious about patient health issue. Recovery period : 1) Patient experienced fluid overload due to plasma reabsorption to vessel 2) Patient felt uncomfortable causing by abdominal discomfort and itching 3) Patient had high risk of malnutrition and electrolyte imbalance due to DSS.

The nursing care was performed according to the schedule.  He is alert, self-care, T = 36.8o C, pulse 76/min, Heart rate 76/min, respiration rate 22/min, blood pressure 100/68 mm.Hg. He was discharged after 15 days. He received home medication for further treatment. The follow-up appointment was arranged. From the follow-up, he was energetic. The vital signs and laboratory results were normal. 

 Key word : Nursing care, Dengue Shock Syndrome (DSS)


บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค : กรณีศึกษา โดยศึกษาที่หอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (Pediatric Intensive Care Unit : PICU) โรงพยาบาลชัยภูมิ เริ่มศึกษาตั้งแต่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ป่วย เด็กชาย ไทย H.N. 410444 A.N. 620021530 อายุ 14 ปี น้ำหนัก 32 กิโลกรัม ส่วนสูง 145 เซนติเมตร มาด้วยอาการสำคัญคือ ไข้สูง ซึม เหนื่อยเพลียมาก ก่อนมาโรงพยาบาล 4 วัน รับการรักษาที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ 7 ชั่วโมงต่อมา หายใจเหนื่อยหอบ ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ แพทย์พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ ส่งมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชัยภูมิ ประสาน fast track เข้า PICU โรงพยาบาลชัยภูมิ ได้รับการวินิจฉัย Dengue Shock Syndrome : DSS อาการแรกรับ สับสน อ่อนเพลีย เหงื่อออก ผิวหนังเย็นชื้น มี Petechiae at chest wall และ extremities คลำพบ Hepatomegaly 1 FB below RCM., Capillary refill > 3 วินาที On oroendotracheal tube No. 6.5 ลึก 18 cms. On ventilator Pressure control Assist with control mode RR 20 BPM, inspired time 0.8 sec, PIP 14 cm.H2O, PEEP 4 cm.H2O, FiO2 1.0 สัญญาณชีพ อุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส ชีพจร 120 ครั้งต่อนาที เบา อัตราการเต้นของหัวใจ 120 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 20 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 118/69 mm.Hg. O2 saturation 97% และให้ 5% D/NSS ⓥ drip 20 cc./hr., Dobutamine 500 mg. in 5%D/NSS 250 ml. ⓥ drip 10 ml./hr., Dopamine 500 mg. in 5%D/NSS 250 ml. ⓥ drip 10 ml./hr. gastric content สีแดงจางประมาณ 50 cc. ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hematocrit  = 27%, White Blood Cell Count = 2,700 cell/cu.mm., Platelet Count = 48,000 cell/cu.mm., DTX = 118 mg%, BUN = 21.1 mg/dL, Creatinine = 1.55 mg/dL, Sodium = 125 mEq/L, Potassium = 4.2 mEq/L, Chloride = 104 mEq/L, Bicarbonate = 19.9 mEq/L, AST = 276 Unit/L, ALT = 186 Unit/L, Prothombin time = 22.1 วินาที, Activate Partial Tromboplast = 47.1 วินาที, INR = 1.88    

            ปัญหาทางการพยาบาลดังนี้ ระยะช็อค 1) มีภาวะช็อคจากการพร่องปริมาตรในระบบไหลเวียน เกี่ยวข้องกับการรั่วของพลาสมาออกนอกหลอดเลือด 2) ภาวะเลือดออกเนื่องจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดและการแข็งตัวของเลือด 3) ขาดสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย จากไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค 4) แคลเซียมต่ำ จากไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค 5) เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค 6) การทำงานของไตอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากภาวะช็อค เลือดอาจถูกส่งมาเลี้ยงไตไม่เพียงพอ 7) เสี่ยงต่ออาการทางสมอง เนื่องจากตับวาย 8) ญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเด็กและแนวทางการรักษาพยาบาล ปัญหาการพยาบาลในระยะฟื้นตัวคือ 1) มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากร่างกายได้รับสารน้ำปริมาณมากเกินและมีภาวะการดูดซึมกลับของพลาสมาเข้าสู่เส้นเลือดในปริมาณมาก 2) ไม่สุขสบายเนื่องจากอาการปวดจุกแน่นท้อง และผื่นคันตามร่างกาย 3) มีโอกาสเกิดภาวะขาดสารอาหารและเสียสมดุลของเกลือแร่จากไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค

            ให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ ผู้ป่วยสดชื่น สามารถปฏิบัติกิจกรรมประจำวันได้ อุณหภูมิ 36.8 องศาเซลเซียส ชีพจร 76 ครั้งต่อนาที อัตราการเต้นของหัวใจ 76 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 22 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 100/68 มิลลิเมตรปรอท แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้หลังนอนรักษา 15 วัน ให้ยาไปรับประทานต่อที่บ้านและนัดมาตรวจติดตามอาการ ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่ห้องตรวจกุมารเวชกรรม พบว่า ผู้ป่วย สดชื่น ไม่มีไข้ สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ

 คำสำคัญ : การพยาบาล  ไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน