การพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค (Dengue Shock Syndrome : DSS) : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อภิญญา สัตย์ธรรม หอผู้ป่วยเด็กวิกฤต กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษารายกรณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค ที่นอนรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต (Pediatric Intensive Care Unit : PICU) โรงพยาบาลชัยภูมิ เริ่มศึกษาตั้งแต่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ผู้ป่วย เด็กชาย ไทย อายุ 14 ปี น้ำหนัก 32 กิโลกรัม ส่วนสูง 145 เซนติเมตร มาด้วยอาการสำคัญคือ ไข้สูง ซึม เหนื่อยเพลียมาก ก่อนมาโรงพยาบาล 4 วัน รับการรักษาที่โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ 7 ชั่วโมงต่อมา หายใจเหนื่อยหอบ ชีพจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ แพทย์พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ ส่งมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชัยภูมิ ประสาน fast track เข้า PICU โรงพยาบาลชัยภูมิ ได้รับการวินิจฉัย Dengue Shock Syndrome : DSS อาการแรกรับ สับสน อ่อนเพลีย เหงื่อออก ผิวหนังเย็นชื้น, Petechiae at chest wall and extremities, Hepatomegaly 1 FB below RCM., Capillary refill > 3 second, On oroendotracheal tube No. 6.5, depth 18 cms. with ventilator support, on 5% D/NSS ⓥ drip 40 cc./hr., Dobutamine 500 mg. in 5%D/W 250 ml. ⓥ drip 10 ml./hr., Dopamine 500 mg. in 5%D/W 250 ml. ⓥ drip 10 ml./hr. gastric content coffee ground ประมาณ 50 cc., สัญญาณชีพ T. 38oC, Pulse 120/min เบา, H.R. 120 /min, R.R. 20/min, B.P. 90/40 mm.Hg. เบา SpO2 97%, ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hct. = 27%, W.B.C. = 2,700 cell/mm.3, Platelet Count = 48,000 cell/mm.3, DTX = 118 mg%, BUN = 21.1 mg/dL, Creatinine = 1.55 mg/dL, Sodium = 125 mEq/L, Potassium = 3.3 mEq/L, Chloride = 104 mEq/L, Bicarbonate = 19.9 mEq/L, Calcium = 8.0 mg/dL, Magnesium = 1.6 mg/dL, AST = 276 Unit/L, ALT = 186 Unit/L, Prothombin time = 22.1 วินาที, Activate Partial Tromboplast = 47.1 วินาที, INR = 1.88 มีปัญหาทางการพยาบาลดังนี้ ระยะช็อค 1) มีภาวะช็อค เนื่องจากปริมาตรในระบบไหลเวียนไม่เพียงพอเกี่ยวข้องกับการรั่วของพลาสมาออกนอกหลอดเลือด 2) มีภาวะเลือดออก เนื่องจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดและการแข็งตัวของเลือด 3) มีภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค 4) มีภาวะแคลเซียมและแมกนีเซียมต่ำ เนื่องจากไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค 5) เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค 6) เสี่ยงต่อการทำงานของไตอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากภาวะช็อค เลือดอาจถูกส่งมาเลี้ยงไตไม่เพียงพอ 7) เสี่ยงต่ออาการทางสมอง เนื่องจากตับวาย 8) ญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเด็กและแนวทางการรักษาพยาบาล 9) ไม่สามารถดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลได้ เนื่องจากอยู่ในภาวะช็อค 10) ไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดได้ เนื่องจากใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะฟื้นตัวคือ 1) มีภาวะน้ำเกิน เนื่องจากร่างกายได้รับสารน้ำปริมาณมากเกินและมีภาวะการดูดซึมกลับของพลาสมาเข้าสู่เส้นเลือดในปริมาณมาก 2) ไม่สุขสบาย เนื่องจากอาการปวดจุกแน่นท้อง และผื่นคันตามร่างกาย 3) เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารและเสียสมดุลของเกลือแร่ เนื่องจากไข้เลือดออกที่มีภาวะช็อค ให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้ ผู้ป่วยสดชื่น ไม่มีไข้ สัญญาณชีพปกติ จำหน่ายทุเลาหลังนอนรักษา 15 วัน

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/thaivbd/ [ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563]

กรมควบคุมโรค. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/thaivbd/ [ค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563].

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2560). สถิติประจำปี 2560 กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2561). สถิติประจำปี 2561 กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2562). สถิติประจำปี 2562 กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2560). สถิติประจำปี 2560 กลุ่มงานกุมารเวชกรรม. ชัยภูมิ : กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลชัยภูมิ.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, ชวนพิศ ทำนอง. [บรรณาธิการ]. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น : สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ สายวิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 357-9.

ชวนพิศ วงศ์สามัญ, กล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2556). การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 19. ขอนแก่น : ภาควิชาพื้นฐานการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 294 - 622.

ศิริเพ็ญ กัลป์ยาณรุจ. [บรรณาธิการล. (2559). แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกเดงกี : ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชินี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กระทรวง สาธารณสุข : 14.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน