การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือด หอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเลย

ผู้แต่ง

  • ปิยนันท์ ไพไทย หอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป
  • พิชัย บุญมาศรี กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน
  • ระพีพรรณ นันทะนา กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล , โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในเด็ก , การให้เลือด

บทคัดย่อ

การให้เลือดเป็นการรักษาที่จำเป็นสำหรับเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เพื่อยับยั้งการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แต่การให้เลือดในเด็กมีความยุ่งยากซับซ้อนที่ต้องมีการจัดการในเชิงระบบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ในหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเลย โดยใช้การวิจัยและพัฒนา ประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งเป็นกรอบแนวคิด ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (กุมภาพันธ์-เมษายน 2563) ผู้ร่วมวิจัย ได้แก่ พยาบาลประจำหอผู้ป่วยสามัญกุมารเวชกรรมทั่วไป โรงพยาบาลเลย 13 คน และเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือด ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยดังกล่าว 30 คน เครื่องมือเชิงปริมาณ ได้แก่ 1) แบบประเมินการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยก่อนให้เลือด 2) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวปฏิบัติ เครื่องมือเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่มและการระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าคะแนน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติ McNemar's Chi-Square test และ Wilcoxon signed- ranks test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การดำเนินการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มพยาบาลผ่านการประชุมระดมสมอง นำเสนอผลลัพธ์เป็น 2 วงรอบ ได้แก่ วงรอบที่ 1 โดยการทบทวนอุบัติการณ์ย้อนหลัง 2 ปี พบว่า มีการให้เลือดผิดหมู่และผู้รับ 2 ครั้ง การเกิดอาการข้างเคียง 6 ครั้ง สาเหตุเนื่องจากการพยาบาลมีความแตกต่างกันตามความรู้และประสบการณ์ของพยาบาล ขาดแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการให้เลือดที่ชัดเจน นำไปสู่การพัฒนาแนวปฏิบัติดังกล่าว วงรอบที่ 2 โดยการวิเคราะห์ผลการดำเนินการในวงรอบที่ 1 ผลลัพธ์จากการพัฒนาทั้ง 2 วงรอบ ทำให้หน่วยงานมีแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดอย่างชัดเจน คะแนนพฤติกรรมการพยาบาลในการให้เลือดครอบคลุมตามมาตรฐานมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.002) รวมทั้งกลุ่มพยาบาลมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.001) ผู้ป่วยได้รับการประเมินและบันทึกอาการผิดปกติตามเกณฑ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p= 0.031) ไม่พบอุบัติการณ์ให้เลือดผิดหมู่หรือผิดคน จะเห็นได้ว่าการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเด็กโลหิตจางธาลัสซีเมียที่ได้รับเลือดช่วยเพิ่มความครอบคลุมการดูแลตามมาตรฐาน และช่วยให้เกิดผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีกับผู้ป่วย

เอกสารอ้างอิง

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระราชูประถัมภ์.

อรุณี เจตศรีสุภาพ. (2552). ธาลัสซีเมียแบบองค์รวม. ขอนแก่น : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Viprakasit V, Tanphaichitr VS, Chinchang W, Sangkla P, Weiss MJ, &Higgs DR. (2004). Evaluation of Alpha. Hemoglobin Stabilizing Protein (AHSP) as a genetic modifier in patients with beta thalassemia. Blood, 103(9):3296-9

วิปร วิประกษิต. (2556). ธาลัสซีเมีย:การดูแลรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบูรณาการ(Comprehensive Management for Thalassemia). วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 23(4):303-20.

Deming WE. (2000). Out of the Crisis. Cambridge, MA: MIT Press.

Abolwafa1 NF, Mohamed AH, Hossein YE. (2018). Improving Quality of Nursing Care among school age Children with Thalassemia Major as Regards Blood Transfusion. Journal of Nursing and Health Science, 7(5):78-89.

Thalassemia international federation. (2014). Guidelines for the management of transfusion dependent thalassemia (TDT). Nicosia, Cyprus: Thalassemia international federation.

Cazzola M, DeStedano P, Ponchio L, Locatelli F, Bequin Y, Dessi C, et al.(1995). Relation between transfusion regimen and suppression of erythropoiesis. Br J Heamatol, 89(3):473-8.

Sahu S, Hemlata, Verma A. (2014). Adverse events related to blood transfusion. Indian J Anaesth, 58(5):543-51.

นริศรา ศรีกุลวงศ์. (2558). การพัฒนาระบบการดูแลเด็กโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในโรงพยาบาลวานรนิวาส. จากURL https://www.hos. wanorn.com/wp-content/uploads/2019/06/รวมเล่ม-งาน-R2R-โรงพยาบาลวานรนิวาส-ประจำปี-2558.pdf [สืบค้นวันที่ 10 มกราคม 2563]

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน