การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวม ในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
การดูแลต่อเนื่อง, การดูแลแบบองค์รวม, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิ ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2562 – มกราคม 2563 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 95 คน และทีมผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินผู้สูงอายุ แบบสอบถาม และแนวคำถามกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดชัยภูมิมีดังนี้ 1) มีการวางแผนการดูแลโดยการวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหาร่วมกันกับชุมชนในการวางแผนการดูแลสุขภาพ 2) การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ มีการคัดกรอง การจัดอบรมให้ความรู้สำหรับผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนมีคู่มือการดูแลที่มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ได้จริงและมีแนวทางการส่งต่อการดูแลกรณีเร่งด่วนหรือปรึกษาการดูแล 3) มีการติดตามงาน ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีสิ่งสนับสนุนสำหรับการดูแล 4) มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จากนั้นวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการดำเนินงานเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นและมีความเหมาะสมกับบริบทอย่างแท้จริง จากการดำเนินงานพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการเยี่ยมบ้านโดยทีมผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ที่มีความใส่ใจกระตือรือร้นและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกลุ่มติดเตียงเพิ่มมากขึ้น มีทักษะความรู้ทำให้มั่นใจในการให้บริการ สามารถประเมินภาวะสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น ตลอดจนสามารถส่งต่อกรณีเร่งด่วนได้ ขณะเดียวกัน พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และทีมผู้ให้บริการดูแลมีความพึงพอใจในการดูแลสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม มีการทำงานที่เป็นเครือข่าย มีแนวทางการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ชัดเจนเพิ่มมากขึ้น ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพ ต่อสู้กับความเจ็บป่วย โดยกำลังใจได้มาจากคนภายในครอบครัวและทีมสุขภาพที่เข้าใจในสิ่งที่ผู้สูงอายุกำลังเผชิญอยู่เกิดเป็นพลังเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเหมาะสมกับบริบทที่เป็นอยู่ของแต่ละบุคคล และสามารถนำไปขยายผลพื้นที่อื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. ข้อมูลประชากรประเทศไทย พ.ศ. 2558. [อินเตอร์เน็ต]. แหล่งข้อมูล:http://www.ipsr.mahidol. ac.th/ipsr-th/population_thai.html [สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2562]
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : เดือนตุลา จำกัด.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพกลุ่มวัยสูงอายุของจังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2562. ชัยภูมิ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.
อัมพรพรรณ ธีรานุตร. (2552). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโนนม่วง. ขอนแก่น: คณะพยาบาลสาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เบญจพร สุธรรมชัย, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, นภัส แก้ววิเชียร. (2558). การสังเคราะห์รูปแบบบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(6):1017-29.
จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี. (2554). การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. [ขอนแก่น] : การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรียานุช จันทิมา. (2554).พัฒนาการของเครือข่ายผู้สูงอายุในการดูแลสุขภาพของตนเองกรณีศึกษาชุมชนเขตเทศบาลเมือง อำนาจเจริญ. อุบลราชธานี : ปรัชญาดุษฏีนิพนธ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วิไล ตาปะสี, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, สีนวล รัตนวิจิตร. (2560). รูปแบบการจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารเกื้อการุณย์, 24(1):42-54.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-18 (2)
- 2020-08-20 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2020 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.