This is an outdated version published on 2020-08-20. Read the most recent version.

Nursing Care for Patients with Spinal Fractures of the thoracic and lumbar spinal cord after Laminectomy in Intermediate Care (IMC) : Case study = การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังส่วนอกและเอวหักกดทับไขสันหลังที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังและการดูแลต่อเนื่องในระยะกลาง : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • Phatcharachat Phoomsathan

บทคัดย่อ

Abstract

Spinal fractures and dislocations can cause death, disability and a need for long-term care. The patient will suffer from pain, disability or death from complications  from fractures. Intermediate care (IMC) is a development of health service in the Service Plan system that connects the hospital system at all levels from primary, secondary and tertiary care. The ultimate goals of this system includes ensuring that patient safety in intermediate care, providing physical, mental, emotional, social, and spiritual rehabilitation without any disability, patients can take care of their own life and able to live a normal life within society. This case study was challenging for ward nurses who prepared patients for discharge planning and provide the IMC service system.

Objective : To provide nursing care for patients in intermediate care who had fractures and dislocations after laminectomy.

Methods : Case study : A 17 year-old female patient with fractures and dislocations of T12-L1 with torn dura and closed fracture lift shaft femur was admitted to the Female Orthopedic Ward, Chaiyaphum Hospital. Data were collected form 5 June 2019 to 23 July 2019. The patient was discharged with complete spinal cord injury and paraplegia Motor Power grade 0 ,Barthel ADL index 5 and returned home with a wheelchair. A multidisciplinary team provided care and a rehabilitation service for up to 6 months by using the IMC model. This care team and the patient had set goals for rehabilitation services which included: increasing physical access to the services, reducing disabilities and reducing complications .

Results :  The treatment and follow-up for physical and psychological rehabilitation and the IMC continued care included home visits, rehabilitation services and empowering the patient to become more independent resulted in the patient being able to walk again with a knee brace support and a walker. She can also self-urinate.

Conclusion : Self Management is the result of self-care. The model of IMC for patient care services in community, discharge planning, empowerment and goal setting together were an effective model of patient care.

 

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บกระดูกสันหลังหักและเคลื่อนที่นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิต ความพิการ ระยะเวลาการดูแลรักษาที่ยาวนาน ผู้ป่วยจะเกิดความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวด ความพิการหรือเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนของโรค การดูแลต่อเนื่องระยะกลาง (Intermediate care : IMC) เป็นการพัฒนาในระบบบริการ Service Plan ที่เชื่อมโยงระบบบริการโรงพยาบาลทุกระดับตั้งแต่ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ผู้ป่วยระยะกลางปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และจิตวิญญาณ ฟื้นหายจากโรคไม่เกิดความพิการ สามารถจัดการกับสุขภาพตนเองได้และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ กรณีศึกษานี้เป็นบทบาทที่ท้าทายสำหรับพยาบาลหอผู้ป่วยในการเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมก่อนจำหน่ายและการวางระบบบริการ IMC      

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้การพยาบาลในรูปแบบการดูแลต่อเนื่องในระยะกลาง (Intermediate care : IMC ) สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลังหักและเคลื่อนที่ได้รับการผ่าตัดใส่เหล็กดาม

วิธีการศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 17 ปี แพทย์วินิจฉัย Fractures and Dislocations of T12-L1 with Tear Dura with Closed Fracture Lift shaft Femur โดยศึกษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ ตั้งแต่ วันที่ 5 มิถุนายน – 23 กรกฎาคม 2562  หลังการจำหน่าย ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บ                    ไขสันหลังชนิดไม่สมบูรณ์และเกิดอัมพาตเฉพาะท่อนล่าง (Paraplegia)  Motor Power grade 0 ไม่สามารถปัสสาวะได้เอง ประเมิน Barthel ADL index ได้ 5 คะแนน กลับบ้านพร้อมรถเข็น ทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมดูแลต่อเนื่องอีก 6 เดือน โดยใช้รูปแบบ IMC ทีมดูแลและผู้ป่วยมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อ เพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความพิการ ลดภาวะแทรกซ้อน

ผลการศึกษา : ผลการรักษาและติดตามการฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในรูปแบบ IMC โดยการติดตามเยี่ยมบ้าน การฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วย และการเสริมพลังอำนาจในการจัดการตนเอง ทำให้ผู้ป่วยกลับมาเดินได้อีกครั้งโดยมีอุปกรณ์ช่วยเดิน knee brace ร่วมกับ walker และสามารถปัสสาวะได้เอง

สรุป: Self  Management คือ ผลลัพธ์ในการดูแลตัวเอง การนำรูปแบบระบบบริการพยาบาล IMC  ที่ร่วมให้การดูแลผู้ป่วยในชุมชนตามมาตรฐานบริการผู้ป่วยระยะกลาง การวางแผนจำหน่าย การเสริมพลังอำนาจ และการตั้งเป้าหมายร่วมกัน เป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20

เวอร์ชัน