ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อุดมโชค อินทรโชติ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง , ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) แบบกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังการทดลอง (The one group pretest-posttest design)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1c)> 8 % ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่รับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย ที่มี HbA1c >8 % จำนวน 60 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การให้ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานรายกลุ่มและรายบุคคล  การตั้งเป้าหมายในการควบคุมเบาหวานร่วมกับแพทย์,โมเดลอาหารเบาหวาน, สมุดบันทึกการปฏิบัติตัวและมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยงในการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 3 เดือน ระหว่าง 1 มีนาคม ถึง 30 พฤษภาคม 2563 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยแบบสัมภาษณ์ การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง และตรวจ HbA1c วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ Paired  t–test ที่ระดับนัยสำคัญ .05

ผลการวิจัย : พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของ HbA1c ก่อนการทดลอง = 9.80% หลังการทดลอง = 9.53% ซึ่งหลังการทดลอง HbA1c ลดลง แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p-value = 0.12)  และมีกลุ่มตัวอย่างที่ HbA1c ลดลง จำนวน 34 ราย (ร้อยละ 56.7) ส่วนการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเอง พบว่า หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยในการจัดการตนเองเพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้านการควบคุมอาหารและการรับประทานยา ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนด้านการออกกำลังกายและการดูแลมือเท้าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p-value > 0.05) สำหรับด้านการผ่อนคลายความเครียดพบว่าหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)  

 สรุป : การจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมทำให้กลุ่มตัวอย่างบางส่วนมี HbA1c ลดลง และมีผลต่อการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้นควรมีการกระตุ้นและส่งเสริมการจัดการเบาหวานด้วยตนเองระยะยาว อย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2562. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก :http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?id=13674&gid=18 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.พ. 2563]

กรมควบคุมโรค. (2561). สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs).นนทบุรี : สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. (2563). รายงาน HDC V.4 กลุ่มมาตรฐาน. ชัยภูมิ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. ข้อมูลเพื่อตอบสนองService Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ(NCD, DM, HT, CVD). [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก:https://cpm.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.พ. 2563].

Wagner EH, Glasgow RE, Davis C, Bonomi AE, Provost L, McCulloch D, et al. (2001). Quality improvement in chronic illness care: A collaborative approach. Joint Commission Journal on Quality Improvement, 27(2):63-80.

โรงพยาบาลชัยภูมิ. (2563). รายงานผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. ชัยภูมิ : คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย.

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo : Harper.

ขวัญเรือน ทิพย์พู. (2533). ผลของโปรแกรมประยุกต์การจัดการและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่มเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในระบบบริการปฐมภูมิ จังหวัดนครพนม. นครพนม : (วิทยานิพนธ์ปริญญา ส.ม. สาขาวิชาการจัดการระบบสุภาพ) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชดช้อย วัฒนะ. (2558). การสนับสนุนการจัดการตนเอง กลยุทธ์ในการส่งเสริมการควบคุมโรค.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 26(ฉบับเพิ่มเติม1):117-27.

กรมควบคุมโรค. (2563). สื่อเผยแพร่กองระบาดวิทยา. [อินเตอร์เนต]. เข้าถึงได้จากhttps://ddc.moph.go.th/doe/index.php [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2563].

ชาลี เบ้าลี. (2563). การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนส้มกบ ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. ขอนแก่น : วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กรศินันท์ เลิศสกุลจินดา. (2553). ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง. นครศรีธรรมราช : วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-08-20 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-18

เวอร์ชัน