การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอด อุดกั้นเรื้อรังต่อภาวะการเกิดทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน และวันนอนโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , ภาวะกำเริบเฉียบพลัน , ทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน , ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลบทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังยังเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของคนทั่วโลก เป้าหมายของการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ ลดอาการในปัจจุบัน (ลดอาการหอบเหนื่อย ออกกำลังให้ได้นานขึ้น) และ การป้องกันสิ่งที่จะเกิดในอนาคต (ป้องกันและรักษาอาการกำเริบ หรือภาวะแทรกซ้อน) การดูแลรักษาภาวะหอบกำเริบเฉียบพลันที่ดีจะทำให้ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิต
วัตถุประสงค์ : การศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกของอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อการเกิดทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน และวันนอนโรงพยาบาล ในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบเชิงพรรณนาย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติทางคลินิกของอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังก่อนและหลังใช้ ก่อนใช้แนวปฏิบัติ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 - วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เปรียบเทียบกับหลังใช้ ระหว่าง 1 มกราคม 2562 - วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล การรักษา และผลของการรักษา
ผลการศึกษา : ผลของการศึกษาก่อนใช้แนวทางปฏิบัติมีทั้งหมด 64 คน รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั้งหมด 109 ครั้ง หลังจากใช้แนวปฏิบัติ มีจำนวนทั้งหมด 64 คน รับไว้รักษาทั้งหมด 99 ครั้ง สาเหตุของหอบกำเริบเฉียบพลันคือการติดเชื้อ เช่น เสมหะมากขึ้น เสมหะเปลี่ยนสี ไข้ ซึ่งระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก่อนใช้แนวปฏิบัติ 3.3 ± 3.39 วัน หลังจากใช้แนวปฏิบัติ 1.97 ± 0.92 วัน (p < 0.001) ภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันก่อนใช้แนวปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 1.4 หลังใช้คิดเป็นร้อยละ 1 ( p = 0.739 ) อัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลภายใน 28 วันลดลงจากร้อยละ 7.2 เป็น 2.9 ( p = 0.069 )
สรุป : จากการศึกษานี้ การใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ในภาวะหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถอาการหอบกำเริบเฉียบพลัน ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลได้ แต่ไม่มีผลต่ออัตราการเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
เอกสารอ้างอิง
Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD). Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease 2020. [online]. http:// www.goldcopd.it/materiale/2020.pdf. [Retrieved 18 May 2020]
สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2560). ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.
Roberts C, Lowe D, Bucknall C, Ryland I, Kelly Y, Pearson M. (2002). Clinical audit indicators of outcome following admission to hospital with acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease. Thorax, 57(2):137-41.
Wedzicha JA, Seemungal TA. (2007). COPD exacerbations: defining their cause and prevention. The Lancet, 370(9589):786-96.
Perera WR, Hurst JR, Wilkinson TMA, Sapsford RJ, Müllerova H, Donaldson GC, et al. (2007). Inflammatory changes, recovery and recurrence at COPD exacerbation. European Respiratory Journal, 29(3):527-34
Dewan NA, Rafique S, Kanwar B, Satpathy H, Ryschon K, Tillotson GS, et al. (2000). Acute exacerbation of COPD: factors associated with poor treatment outcome. Chest, 117(3):662-71.
เสน่ห์ พุฒธิ, อัมพรพรรณ ธีราบุตร. (2563). ผลของโปรแกรมการสอนผู้ใหญ่ด้วยสื่อการเรียนรู้วีดีทัศน์ภาษาอีสานและการฝึกทักษะที่จำเป็นต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติตัวของการจัดการอาการหอบกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(4):84-96.
ธนิตดา เลิศลอยกุลชัย. (2563). ปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน เนื่องจากภาวะกำเริบเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารแพทย์เขต 4-5, 9(2):190-200.
Rinne ST, Graves MC, Bastian LA, Lindenauer PK, Wong ES, Hebert PL. et al. (2017). Association Between Length of Stay and Readmission for COPD. Am J Manag Care, 23(8):e253-e258.
Lancaster JW, McAuliffe L, O’Gara E, Cornelio C, Hum J, Kim Y, et al. (2020). Impact of antibiotic choice on readmission in adults experiencing an acute COPD exacerbation. Am J Health Syst Pharm, zxaa317.
Ram FSF, Rodriguez-Roisin R, Granados-Navarrete A, Garcia-Aymerich J, Barnes NC. (2006). Antibiotics for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease. Cochrane Database syst Rev, (2):CD004403.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-17 (3)
- 2021-08-02 (2)
- 2021-02-09 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.