This is an outdated version published on 2021-08-02. Read the most recent version.

Clinical characteristics of cardiac arrest patients at Emergency department Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital

ศึกษาลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิติจิตต์ อังสุพันธุ์โกศล Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital

บทคัดย่อ

       Objective: To determine clinical characteristics of cardiac arrest patients and success rates of adult cardiopulmonary resuscitation at the emergency room Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital

       Materials and Methods: to review retrospectively the case series of cardiac arrest patients and received CPR at Emergency department at Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital between October 2016 and September 2019

       Result: From 104 patients, Male more than female, the mean age was 59 years. Out of hospital cardiac arrest patients 87.5%, in hospital cardiac arrest 12.5%, the success rates of CPR were ROSC 41.9%, survival rate of in hospital cardiac arrest more than out of hospital cardiac arrest, bystander CPR 15% that bystander CPR ROSC rate 64.3%, transported to the emergency room by ambulance was 47.1%. Prehospital of adrenaline administered, Duration of CPR of 5 minutes or less and adrenaline administration less than 5 minutes had higher rates of ROSC. The most common causes of cardiac arrest were heart disease but respiratory cause most high  ROSC rates.

       Conclusion: Early detection important. ROSC related to time of start CPR, transport by ambulance, time of adrenaline administration and bystander CPR

       Keywords: return of spontaneous circulation (ROSC), cardiopulmonary resuscitation (CPR), cardiac arrest, out-of-hospital cardiac arrest

 

       วัตถุประสงค์: ศึกษาลักษณะและอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นที่มารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

       รูปแบบและวิธีวิจัย: เป็นการวิจัยศึกษาย้อนหลังข้อมูลจากเวชระเบียนคอมพิวเตอร์ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นและได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึง กันยายน 2562

       ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 104 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59 ปี ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลร้อยละ 87.5 ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นขณะรับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินร้อยละ 12.5, อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่ช่วยฟื้นคืนชีพที่ห้องฉุกเฉินร้อยละ 41.9, อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นขณะรักษาที่ห้องฉุกเฉินมากกว่าหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, นำส่งโรงพยาบาลโดยรถฉุกเฉินออกรับร้อยละ 47.1, ได้รับการกดนวดหัวใจโดยคนใกล้ชิดก่อนรถฉุกเฉินออกรับมีเพียงร้อยละ 15,  ได้รับการกดนวดหัวใจในที่เกิดเหตุก่อนรถฉุกเฉินออกรับอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 64.3,  กลุ่มได้ยาอะดรีนาลีนตั้งแต่นอกโรงพยาบาลอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 52.9,  ระยะเวลากดนวดหัวใจในห้องฉุกเฉินและปริมาณยาอะดรีนาลีนที่ใช้บ่งบอกถึงอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วย, สาเหตุของหัวใจหยุดเต้นมากที่สุดคือโรคหัวใจและหลอดเลือดร้อยละ 38.5, ระบบทางเดินหายใจ มีอัตราการรอดชีวิตมากสุด

       สรุปผล: ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่ไม่ได้รับการกดนวดหัวใจเบื้องต้นทันทีจากคนใกล้ชิด รถฉุกเฉินทางการแพทย์ การได้ยาอะดรีนาลีนและการกดนวดหัวใจให้เร็วที่สุดโดยคนพบเห็นเหตุการณ์เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วย

       คำสำคัญ: อัตราการรอดชีวิต, ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน, ภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล, รถฉุกเฉิน

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09 — อัปเดตเมื่อ 2021-08-02

เวอร์ชัน