การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 รายย
คำสำคัญ:
ภาวะข้อเข่าเสื่อม , การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ชีวิต พฤติกรรมและปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม รวมทั้งพัฒนา แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพการศึกษานี้ศึกษากรณีศึกษา 2 ราย รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทยคู่ อายุ 63ปี โรคประจำตัว HT, DLP, Gouth, OA Right knee S/P TKA Right Knee รูปร่างท้วม BMI 32.69 รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทยคู่ อายุ 63 ปี โรคประจำตัว HT มีรูปร่างท้วม BMI 30.76
ผลการศึกษา: พบว่าปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมคือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น น้ำหนักตัวที่มาก พฤติกรรมหรืออาชีพที่ใช้เข่ามาก รวมทั้งบุคคลที่เคยมีประวัติเป็นข้อเข่าเสื่อมอีกข้างจะส่งเสริมให้เข่าอีกข้างมีการดำเนินของโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น และการรักษาโดยวิธีการทำกายภาพบำบัด การรับประทานยาไม่ได้ผล และการรักษาที่ได้ผลดีเป็นที่พึงพอใจแก่ผู้ป่วย ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น กล่าวคืออาการเจ็บปวดข้อเข่าลดลง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น มีการพึ่งพาผู้อื่นลดลง อย่างเห็นได้ชัดเจนคือ การรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม TKA จากการเก็บข้อมูลของงานศัลยกรรมกระดูกและข้อชาย โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ปีงบประมาณ 2562 ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดข้อเข่าเทียมหลังการผ่าตัดสามารถงอเข่าได้ 90 องศามีเพียง ร้อยละ 70 ผู้ศึกษาจึงได้พัฒนาแนวทางในการดูแลผู้ป่วยขึ้นมาเพื่อให้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมสามารถ งอเข่าได้ 90 องศา เป้าหมายคือ ร้อยละ 100 ได้พัฒนาแนวทางขึ้นมาดังนี้
1.จัดทำแผ่นพับเรื่องการเตรียมความพร้อมในการบริหารข้อเข่าก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
2.ประสานกับหน่วยงานผู้ป่วยนอกแผนกกระดูกและข้อ เพื่อให้ความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อน การผ่าตัดพร้อมทั้งแจกแผ่นพับความรู้
3.ประสานกับทีมกายภาพบำบัดก่อนการผ่าตัด 1 วันให้มีการสอนการบริหารข้อเข่า
4.หลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียม 24 ชม. จะมีทีมกายภาพบำบัดมาเยี่ยม และสอนการบริหารข้อเข่าทุกวัน
5.หลังจากกลับบ้านไปมีการติดตามอาการผู้ป่วยโดยการติดตามเวชระเบียนเมื่อมาตรวจตามนัดหลังการผ่าตัด 1 เดือน โทรสอบถามอาการหลังการผ่าตัด 3 เดือน และ 6 เดือน
ผลการพัฒนาแนวทางพบว่าผู้ป่วยสามารถ งอเข่าได้ 90 องศาได้ ร้อยละ 100
เอกสารอ้างอิง
Labraca SN, Castro-Sanchez MA, Mataran-Penarrocha AG, Morales AM, Sanchez-Joya MM, Lorenzo MC. (2011). Benefits of starting rehabilitation within 24 hours of primary total knee arthroplasty: Randomized clinical trial. Clinical Rehabilitation, 25(6):557-66.
Zhang S, Pakstis AJ, Kidd KK, Zhao H. (2001). Comparisons of two methods for haplotype reconstruction and haplotype frequency estimation from population data. Am J Hum Genet, 69(4):906–12.
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย.
วัชระ วิไลรัตน์ และคณะ, [บรรณาธิการ]. ตำราศัลยศาสตร์ข้อสะโพกและข้อเข่าเทียม. ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. 2559.
Cooper C, Denni son E, Edwards M, Litwic A. (2013). Epidemiology of osteoarthritis. Medicographia, 35:145-51.
วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ์, [บรรณาธิการ]. (2550). ออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ : ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
Jevsevar D. (2013). The treatment of osteoarthritis of the knee - 2nd Edition: Clinical practice guideline work group. J Am Acad Orthop Surg, 21(9):571-6.
กระทรวงสาธารณสุข. (2548). แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษา โรคข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
Orem DE, Taylor SG, Renpenning KM. (2001). Nursing: Concepts of practice. (6th ed.). St. Louis: Mosby.
พัชรพล อุดมเกียรติ. (2554). การรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัด.[ออนไลน์] จาก: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=854 [สืบค้น 18 มิถุนายน 2561]
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
เวอร์ชัน
- 2021-08-17 (3)
- 2021-08-02 (2)
- 2021-02-09 (1)
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2021 ชัยภูมิเวชสาร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.