This is an outdated version published on 2021-02-09. Read the most recent version.

Nursing care for diabetic patients with Diabetic Ketoacidosis (DKA) : Case study

การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • Jiraporn Chinsom Debaratana Nakhon Ratchasima Hospital

บทคัดย่อ

          This research aimed to study the nursing care for diabetic patients with diabetic ketoacidosis (DKA). This was a comparative of 2 case studies who were admitted in the ICU word and 4 relatives, Nakhon Ratchasima Hospital between 25 February – 31 Mach 31, 2020. Data were collected by inpateint medical record, observation and interviews patients and their relatives. Data were analyzed by comparative content analysis of the risk to diabetes with DKA hyperglycemia, sign, symptoms, treatment and nursing problems.  

          The result of this study found that the nursing care for diabetic patients with diabetic ketoacidosis (DKA) were similar with diabetics type 2 symptoms such as drowsiness, difficulty awakening, breathlessness, don,t speak, and nursing problems found that: 1) Risk of unconsciousness due to the build-up of ketone acids in the body. 2)Decreased gas exchange due to acidosis. 3) Electrolyte imbalance due to loss of urine due to osmotic diuresis. 4) Impaired communication due to inability to speak from intubation. 5) Persons the sick and the relatives were anxious due to severe illness. 6) The routine maintenance plan has changed such as sleep and diet due to critical illness. 7) Risk of accidents due to changes in consciousness level. The difference is Nursing plan number 7 is the level of consciousness changes from Alcohol withdrawal, a factor that may make the disease more severe, take longer to complete treatment, with the length of   stay in case 1 in 7 days, in case 2 in 15 day.

          Therefore, nurses should focus on nursing care practice for the risk of unconsciousness due to the build-up of ketone acidosis in the body and impaired gas exchange efficiency, which are essential for urgent nursing care. After that, nurses will continue to the nursing care intervention that focus to the patients get wellbeing in daily life effectively.

   Keywords: Nursing care, Diabetic Ketoacidosis (DKA)

 

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic Ketoacidosis(DKA) เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด DKA 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม พ.ศ.2563  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสังเกตุ การสัมภาษณ์ผู้ป่วย และ ญาติ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด DKA  อาการ อาการแสดง การรักษา และ ปัญหาทางการพยาบาล  

          ผลการศึกษาพบว่า การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด DKA ของกรณีศึกษา มีความเหมือนกันคือ เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อาการที่มาคล้ายกันคือ ซึม ปลุกตื่นยาก หายใจหอบเหนื่อย  ไม่พูด และ ปัญหาทางการพยาบาลที่พบคือ 1) เสี่ยงต่อภาวะหมดสติเนื่องจากมีภาวะการคั่งของกรดคีโตนในร่างกาย 2) ประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากมีภาวะกรดในร่างกาย 3) มีภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์เนื่องจากสูญเสียไปกับปัสสาวะจาก osmotic diuresis 4) การสื่อสารบกพร่องเนื่องจากไม่สามารถพูดได้จากการใส่ท่อช่วยหายใจ 5) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเนื่องจากภาวะความเจ็บป่วยรุนแรง 6) แบบแผนการดำรงกิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง เช่น การนอนหลับ การรับประทานอาหาร เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยวิกฤต 7) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากระดับการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง  ความแตกต่างกันคือ แผนการพยาบาลข้อที่ 7 คือระดับการรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงจากAlcohol withdrawal ซึ่งเป็นปัจจัยที่อาจทำให้โรคมีอาการรุนแรงมากขึ้นใช้เวลาในการรักษานานขึ้นโดยจำนวนวันนอนผู้ป่วยรายที่1 จำนวน 7 วัน รายที่ 2 จำนวน 15 วัน

          ดังนั้นพยาบาลควรเน้นถึงการพยาบาลเสี่ยงต่อภาวะหมดสติเนื่องจากมีภาวะการคั่งของกรดคีโตนในร่างกาย และ ทำให้ขาดประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงที่เป็นสิ่งสำคัญในการให้การพยาบาลที่เร่งด่วน จากนั้นจึงให้การพยาบาลตามแผนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ

คำสำคัญ :  การพยาบาล, โรคเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิด Diabetic ketoacidosis

 

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09

เวอร์ชัน